วาเลนไทน์สุดโรแมนติก

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทเรียนสำเร็จรูป

ส่วนประกอบของบทเรียนสำเร็จรูป
          ส่วนประกอบของบทเรียนสำเร็จรูป  ประกอบด้วย
  •  1. คำชี้แจง/คำแนะนำในการศึกษาด้วยบทเรียนฉบับนั้น
  • 2. แนวคิด
  • 3. วัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดจากการศึกษาบทเรียนสำเร็จรูป
  • 4. เนื้อหาเรียงลำดับจากง่ายไปยาก
  • 5. แบบฝึกหัด/คำถาม เพื่อทบทวนความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้ศึกษา พร้อมเฉลย
  • 6. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
  • 7. เฉลยแบบทดสอบ
กระบวนการผลิตและพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป
           ขั้นตอนการผลิตและพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปมี 4 ขั้นตอน
  • 1. ขั้นวางแผน (Planning)
  • 2. ขั้นการผลิต (Production)
  • 3. ขั้นการทดลองต้นฉบับ (Prototype testing)
  • 4. ขั้นทดลองใช้จริง
ขั้นวางแผน (Planning)
  • - ศึกษาหลักสูตร เพื่อให้ทราบถึงเนื้อหาสาระที่จะนำมาจัดทำเป็นบทเรียนสำเร็จรูป
  • - กำหนดเนื้อหาสาระที่จะนำมาจัดทำบทเรียน
  • - กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น
  • - จุดประสงค์นำทาง จุดประสงค์ปลายทาง
  • - ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่า เมื่อผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้จบแล้ว ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
  • - วิเคราะห์ความยาก-ง่ายของเนื้อหา
  • - เตรียมสร้างแบบทดสอบทั้งก่อนและหลังเรียนในแต่ละกรอบสาระการเรียนรู้ให้ครอบคลุม
  • - ความรู้ (Knowledge)
  • - ทักษะ/กระบวนการ (Skills Practice/Process)
  • - เจตคติ (Attitude)
ขั้นการผลิต (Production)
  • 1) เขียนบทเรียนสำเร็จรูปประกอบด้วย
  • - จุดประสงค์ของบทเรียนสำเร็จรูป
  • - ข้อทดสอบก่อนและหลังเรียน
  • - กิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกรอบสาระการเรียนรู้หลักและกรอบสาระการเรียนรู้สาขา
  • - นำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามที่วางแผนไว้
  • - การวัดผลประเมินผล
  • 2) สร้างแผนการเรียนรู้
  • - ศึกษาวิธีการสร้างแผนการเรียนรู้
  • - ศึกษาบทเรียนสำเร็จรูป
  • - เขียนแผนการเรียนรู้ตามเนื้อหา โดยพิจารณาความสอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหาและเวลาที่ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้
  • - นำแผนการเรียนรู้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพ
  • - ปรับปรุงแก้ไข ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
ขั้นการทดลองต้นฉบับ (Prototype testing)                นำบทเรียนสำเร็จรูปต้นฉบับไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
               ขั้นหนึ่งต่อหนึ่ง  นำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่ยังไม่เคยศึกษาเรื่องนั้นมาก่อน เพื่อดูความถูกต้องของเนื้อหา ขั้นตอนต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ จากนั้นจึงนำผลและข้อบทพร่องที่พบ มาปรับปรุงแก้ไข เพื่อใช้ในการทดลองขั้นกลุ่มเล็กต่อไป
                ขั้นกลุ่มเล็ก  นำบทเรียนสำเร็จรูปที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขในขั้นหนึ่งต่อหนึ่งไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่กำลังเรียนเนื้อหาวิชานั้น เพื่อตรวจสอบความบกพร่องของบทเรียน และเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เมื่อทดลองแล้วพบว่าประสิทธิภาพยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จะต้องปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาของบทเรียนสำเร็จรูป และปรับปรุงกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งแบบทดสอบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
               ขั้นกลุ่มใหญ่  นำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่กำลังเรียนเนื้อหาวิชานั้น และเป็นกลุ่มทดลองที่มีลักษณะและคุณสมบัติใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจริง ๆ ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เมื่อทดลองแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ก็ดำเนินการจัดทำต้นฉบับเพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างต่อไป
ขั้นทดลองใช้จริง
              การทดลองใช้จริง เพื่อหาประสิทธิภาพบทเรียนสำเร็จรูป มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
•1.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป
  • 1.1 ให้ผู้เรียน ศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนในการเรียนอย่างละเอียด โดยอ่านจากคำชี้แจง/คำแนะนำในการศึกษาด้วยบทเรียนสำเร็จรูป
  • 1.2 ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) ครูตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนและให้คะแนน
  • 1.3 ผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนที่ระบุไว้ในบทเรียนสำเร็จรูปครบถ้วนแล้ว ให้ทำแบบฝึกหัดและตรวจตำตอบจากคำเฉลยที่ให้ไว้ ทำเช่นนี้ทุกหน่วยการเรียนรู้จนครบ

  • 1.4 ครูตรวจสอบการตอบคำถามในแต่ละกรอบและการทำแบบฝึกหัดของผู้เรียนทุกหน่วยการเรียนรู้
  • 1.5 หลังจากผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ ในบทเรียนสำเร็จรูปจบแล้วให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test)
2. เครื่องมือที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป
  • 2.1 แบบฝึกหัด
  • 2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
•3. การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
             เครื่องมือที่ใช้วัดผลการเรียนรู้ เช่น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จะต้องให้ได้ข้อมูลตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการทราบ ครอบคลุมเนื้อหา สอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป อาจจะตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญหรือโดยการวิเคราะห์ ดังนี้
  • 3.1 หาความตรงเนื้อหา เป็นการหาว่าแบบวัดจะวัดได้ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการวัดหรือไม่โดยอาศัยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ คน ซึ่งเหมาะกับเครื่องมือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบทดสอบ
  • 3.2 หาความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา ใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้
 2552-04-18-011
      กำหนดคะแนนของผู้เชี่ยวชาญอาจจะเป็น +1 หรือ 0 หรือ -1 ดังนี้
                  +1  =   แน่ใจว่าข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้จริง
                    0  = ไม่แน่ใจว่าข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้จริง
                   -1 = แน่ใจว่าข้อสอบข้อนั้นไม่ได้วัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้จริง

                ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป ในกรณีที่กำหนดการให้คะแนนของผู้เชี่ยวชาญเป็น 5 หรือ 4 หรือ 3 หรือ 2 หรือ 1 ดังนี้
                    5  =  ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้มากที่สุด
                    4  =  ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้มาก
                    3  =  ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้บ้าง
                    2  =  ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้น้อย
                    1  =  ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้น้อยที่สุด

                       ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป
ตัวอย่างการหาค่า  IOC แบบทดสอบ
               นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 20 ข้อ ให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกับจุดประสงค์ โดยกำหนดคะแนนเป็น +1 หรือ 0 หรือ -1 ได้ผล ดังนี้

ข้อที่ ผู้เชี่ยวชาญ (R)ผลรวมของคะแนน IOCหมายเหตุ
คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 
12
3
4
5
20
+10
+1
-1
+1
+1
+1+1
+1
+1
+1
0
0-1
+1
+1
0
+1
20
3
1
2
2
0.670.00
1.00
0.33
0.67
0.67
            ใช้ได้
ปรับปรุง
            ใช้ได้
ปรับปรุง
            ใช้ได้
             ใช้ได้

             จากตารางจะเห็นว่า ข้อที่ 2 และข้อที่ 4 มีค่า IOC ต่ำกว่า 0.50 ดังนั้นจะต้องปรับปรุง
         • 3.3    การหาค่าความยากง่าย               การวิเคราะห์ความยากง่าย เป็นการวิเคราะห์รายข้อใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้
2552-04-18-0111
              เกณฑ์ความยากง่ายที่ยอมรับได้มีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.80 ถ้าค่า P มีค่านอกเกณฑ์ที่กำหนด จะต้องปรับปรุงข้อสอบข้อนั้น หรือตัดทิ้งไป
ตัวอย่างการหาค่าความยากง่ายแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์
             นำแบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบทดสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 คน แบบทดสอบมี 5 ข้อ ๆ ละ 1 คะแนน ได้ผลดังนี้
2551-01
               จากตาราง  ถ้าต้องการหาดัชนีความยากของแบบทดสอบข้อ 1
จะได้ R = 8 , N = 10  แทนค่า P =   8 /10  = .8
               ดังนั้น  แบบทดสอบข้อ 1 มีค่าดัชนีความยากเท่ากัน .8 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
          •3.4    การหาค่าอำนาจจำแนก
             การวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก เป็นการดูความเหมาะสมของรายข้อว่าข้อคำถามสามารถจำแนกกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อนได้จริงหรือจำแนกผู้ที่มีคุณลักษณะสูงจากผู้มีคุณลักษณะต่ำได้ใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้
2552-04-18-03
              เกณฑ์อำนาจจำแนกที่ยอมรับได้มีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 ขึ้นไป ถ้าค่าอำนาจจำแนกต่ำกว่า 0.20 จะต้องปรับปรุงแบบทดสอบข้อนั้นหรือตัดทิ้งไป
ตัวอย่างการหาค่าอำนาจจำแนกแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์
                 จากตารางข้อมูลตัวอย่างแบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ในการหาค่าความยากสามารถวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบได้ ซึ่งจะเห็นว่าข้อมูลในตารางได้เรียงลำดับคะแนนของนักเรียนจากมากไปหาน้อยแล้ว ดังนั้น กลุ่มสูง (ร้อยละ 25) คือนักเรียนคนที่ 1-3 และกลุ่มต่ำ (ร้อยละ 25) คือนักเรียนคนที่ 8-10
2552-04-18-04
             ดังนั้น  แบบทดสอบข้อที่ 1 มีค่าอำนาจจำแนก .67 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
          •3.5    การหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัด
•1)   การหาความเชื่อมั่นแบบคูเดอร์-ริชาร์ดสัน  เป็นการหาค่าความเชื่อมั่น  ซึ่งใช้ได้ดีกับเครื่องมือที่วัดหรือข้อสอบที่ให้คะแนนแต่ละข้อคำถามตรวจให้คะแนน 1 หรือ 0 (ถูกได้ 1 ผิดได้ 0) ใช้สูตรการคำนวณของ Kuder – Richardson – 21 (KR-21)
      2551-03
           เกณฑ์ความเชื่อมั่นที่ยอมรับได้จะมีค่าตั้งแต่ 0.75 ขึ้นไป
ตัวอย่างการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์
               จากตารางผลการทดสอบวิชาวคณิตศาสตร์ดังที่กล่าวมาข้างต้น ก่อนคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นผู้สอนจะต้องหาค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนเสียก่อน ดังนี้
2551-04
                                   2552-09                                              
               จะเห็นว่าค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์เท่ากับ 0.625 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 0.75 ดังนั้น ผู้สอนจะต้องปรับปรุงแบบทดสอบชุดนี้ก่อนนำไปใช้จริง
•2)   การหาความเชื่อมั่นแบบครอนบัด  (Cronbach) เป็นการหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัดจากการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (a – Coefficient) ซึ่งใช้ได้ดีกับเครื่องมือวัดที่แต่ละข้อคำถามไม่ได้ตรวจให้คะแนน 1 หรือ 0 แต่เป็นการตรวจให้คะแนนในลักษณะอื่น ๆ เช่น การทำข้อสอบอัตนัยที่ตอบแล้วได้คะแนนแต่ละข้อไม่เท่ากัน การทำแบบสอบถามที่ตอบแล้วได้คะแนนแต่ละข้อเป็น 5, 4, 3, 2, 1 เป็นต้น สูตรที่ใช้คือ
 2551-06
  •4.  การหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป
  • 4.1 หาเกณฑ์ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปโดยการวิเคราะห์คะแนนใช้สูตรคำนวณ ดังนี้
             การกำหนดเกณฑ์ที่ยอมรับว่าสื่อหรือนวัตกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพคือด้านความรู้ ความจำ E1/E2  มีค่า  80/80 ขึ้นไป ด้านทักษะปฏิบัติ  E1/E2 มีค่า 70/70 ขึ้นไป โดยที่ค่า  E1/E2  ต้องไม่แตกต่างกันเกินกว่าร้อยละ 5
  • 4.2 หาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูป โดยการวิเคราะห์คะแนนใช้สูตรคำนวณ ดังนี้
2552-04-18-10
            สำหรับเกณฑ์ที่ยอมรับได้ว่าสื่อหรือนวัตกรรมมีประสิทธิผลช่วยให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ได้จริง คือ มีค่าตั้งแต่ .50 ขึ้นไป
5. ทดสอบความแตกต่างของผลการสอบก่อนและหลังเรียน
             โดยการหาค่าที่ (T – dependant)

2551-08

อ้างอิง  http://www.kroobannok.com/

การพัฒนาครูสู่เทคโนโลยีสื่อการสอน

การพัฒนาครูสู่เทคโนโลยีสื่อการสอน
ในปัจจุบันสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเทคโนโลยีสื่อการสอนที่ได้นำเทคโนโลยีด้านการสอนสมัยใหม่มาใช้เป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบการศึกษา ทำให้ครูผู้สอนมีความรู้ ความสามารถ และทักษะ มีคุณธรรมให้ทันต่อความเจริญก้าวหน้าและหลักนิยมที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถพึ่งตนเองได้ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและหลักนิยมของโรงเรียน
ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้แก่ การให้การศึกษาและความรู้ครูผู้สอน กระบวนการเรียนการสอนเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเอาเทคโนโลยี สื่อการสอน วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนหรือเรียกว่าการนำเทคโนโลยีสื่อการสอนมาประกอบการสอนนั่นเอง เทคโนโลยีการสอนนั้นเป็นเสมือนสะพานเชื่อมประสานระหว่างทฤษฎีการสอนกับการปฏิบัติการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มพูนผลการเรียนให้ตรงตามจุดมุ่งหมายของบทเรียนนั่นเอง ซึ่งสอดคล้องกับ
กิดานันท์ มลิทอง (2536 : 75) ได้กล่าวว่า สื่อการเรียนการสอนนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอนนับแต่ออดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจความหมายในเนื้อหาบทเรียนได้ตรงตามที่ผู้สอนต้งอการไม่ว่าสื่อนั้นจะเป็นสื่อแบบใด ชนิดใดก็ล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น การใช้สื่อการสอนต้องเลือกสื่อที่มีความเหมาะสม และตรงตามจุดประสงค์การสอนโดยการวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบในการใช้
สนั่น ปัทมะทิน (2505 : 10) ที่กล่าวว่า การนำสื่อการสอนมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเป็นวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ทางหนึ่งเพราะการสอนเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การที่จะช่วยให้การเรียนและการสอนให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ แต่ครู-อาจารย์ ส่วนมากมักจะมองข้ามความสำคัญของสื่อการเรียนการสอนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนในระดับอุดมศึกษาและการสอนผู้ใหญ่ ซึ่งผู้สอนเห็นว่าผู้เรียนไม่ใช่เด็ก ๆ จึงสอนด้วยวิธีการบรรยายและค้นคว้าก็เพียงพอที่จะเกิดการเรียนรู้แล้ว
ความจริงแล้ว ผู้สอนจำเป็นต้องพยายามหาลู่ทางที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และทักษะ ตลอดจนความสามารถทำอะไรได้จริงตามความมุ่งหมายโดยเร็วที่สุด และตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้เรียนไว้อย่างถาวร ในการส่งเสริมความรู้และทักษะผู้สอนจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ การสอนหรือสื่อการสอนมาประกอบการสอนด้วย

อ้างอิง  http://suriyadetaro.igetweb.com/index.php?mo=3&art=440222

นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาการศึกษา

นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาการศึกษา

 การคิดสร้างสรรค์หรือกรรมวิธีใหม่ๆ ซึ่งต่างไปจากที่เคยปฏิบัติมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานต่างๆ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เราเรียกว่า “นวัตกรรม”  นวัตกรรมตรงกับคำว่า “innovation”  ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า   To renew หรือ to modify หรือ “ทำขึ้นมาใหม่” ดังนั้น คนเราจึงควรมีนวัตกรรม คือ ต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า เพื่อปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ ครู-อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ๆ ที่คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” นั่นเอง ฉะนั้นคำว่า นวัตกรรมการศึกษา จึงหมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆ แนวความคิดวิธีการหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งได้ผ่านการทดลอง วิจัย หรืออยู่ระหว่างการทดลอง หรือ อาจเป็นสิ่งที่เคยใช้แล้วมาปรับปรุงใหม่มาใช้ในการศึกษาเพื่อปรับปรุง หรือเพิ่มประสิทธิภาพ ให้ดี ยิ่งขึ้น
         ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยนำนวัตกรรมการศึกษามาประยุกต์ใช้ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง  สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาตามความต้องการ  นวัตกรรมการเรียนรู้ จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย วิถีคิด ที่ออกนอกกรอบเดิม พอสมควร คือ จะต้อง ออกนอก “ร่อง” หรือ ช่องทางเดิมๆที่เคยชิน เรียกได้ว่า จะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด หรือ กระบวน ทัศน์ที่มีอยู่เดิมเกี่ยวกับการเรียนรู้เสียใหม่ จากที่เคยเข้าใจว่า การเรียนรู้ คือ การศึกษาเพียงเพื่อให้ ได้รู้นั้น มาเป็นการเรียนรู้ที่นำมาใช้พัฒนางาน พัฒนา ชีวิต และพัฒนา สังคมประเทศชาติ ซึ่งเป็น ความรู้ที่แนบแน่นอยู่กับงาน เกี่ยวพันอยู่กับปัญหา  เป็นความรู้ที่มีบริบท การเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ใหม่นี้จึงมักเริ่มต้นด้วยการพัฒนาตัวโจทย์ขึ้นมาก่อน  โดยใช้ปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเป็นหลักเรียกได้ว่ามีความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นจึงเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการเรียนรู้นี้ขึ้น มีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้เอง  สามารถคิดเอง  ทำเอง และแก้ปัญหาเองได้ โดยครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะ คอยให้คำแนะนำในการเรียนรู้  ที่ถูกต้องและเหมาะสมในการทำนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ0ได้นั้น  ต้องเริ่มจากการให้คำมั่นร่วมกันระหว่างคนเกี่ยวข้องในการทำนวัตกรรม  โดยทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความตั้งใจที่จะพัฒนาสินค้าและตราสินค้าเพื่อให้เกิดความมั่นคงร่วมกัน  การปรับเปลี่ยนรกระบวนทัศน์    ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า   เพียงแค่ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือวิถีคิดแล้ว   นวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เองโดยปริยาย จำเป็นจะต้องอาศัยปัจจัยและองประกอบอื่นๆ มาสนับสนุนจึงจะประสบผลสำเร็จ  ในบทความนี้จะขอหยิบยก 3องค์ประกอบหลัก  ที่ถือว่าจำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรม การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นซึ่งได้แก่  1) เวลา    2)โอกาส หรือเวที    และ 3)ไมตรี  องค์ประกอบแรก คือเรื่องขอเวลาพูดง่ายๆและตรงที่สุดก็คือถ้าไม่มีเวลา การเรียนก็ไม่เกิด หรือเกิดได้ยาก  เวลาเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งสำหรับการเรียนรู้  องค์กร  ชุมชน หรือครอบครัวใดที่มัวแต่ยุ่ง  ตกอยู่ในสภาพที่เรียนว่า โงหัวไม่ขึ้น  จะทำให้หมดโอกาสที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  และไม่มีเวลาสำหรับใช้คิดสร้างสรรค์ได้เลย   องค์ประกอบตัวต่อไปที่จะช่วยสนับสนุนและสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ได้ก็คือ  โอกาส  หรือเวทีที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน   วิธีการแลกเปลี่ยนอาจจัดเวทีการเรียนรู้ที่มีรูปแบบที่หลากหลาย  คือมีทั้งเวทีที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ   เช่นการจัดประชุม  สัมมนาในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น  และเวทีในรูปแบบที่อาจจะไม่เป็นทางการมากนัก  คืออาจจะจัดในลักษณะที่เป็นการร่วมตัวของคนที่สนใจ  ไม่มีการบังคับและองค์ประกอบที่สาม  ที่จำเป็นสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้คือ  ไมตรี  คือต้องมีน้ำใจให้แก่กัน  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้คงจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน  ถ้าต่างฝ่ายต่างไม่ยื่นน้ำใจอันดีแก่กัน   นวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จึงจำเป็นต้องอาศัยใจที่เปิดกวาง  ต้องเป็นใจที่ว่าง  ว่างพอที่จะรับสิ่งใหม่ๆ ที่หลั่งไหลเข้ามาโดยไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งเก่าๆ จะต้องพัฒนาให้คนมีความสามารถที่จะละทิ้งสิ่งเก่าๆได้  ด้วยใจที่ไม่มีอคติ  ต้องมองทุกสิ่งทุกอย่างที่เห็นในลักษณะที่ใหม่หมด  สดเสมอให้เป็นความรู้สึกเหมือนกับเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก  ไม่ซ้ำกับสิ่งที่ได้เกิดไปแล้วในอดีต   เป็นความรู้สึกตื่น  ต้องการ  แบ่งปัน  และกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา  แนวความคิดพื้นฐานที่ทำให้เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้  ได้แก่ 1) แนวความคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual differences) จากที่เราได้เคยศึกษาทางด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับมนุษย์นั้น พบว่า มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านกายภาพได้ แก่ร่างกายและด้านสติปัญญา ความคิด และความรู้สึก การรับรู้และการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนจึงควรจัดให้สอดคล้องกับผู้เรียน เช่น ความถนัด ความสนใจ ความสามารถของแต่ละคน อัตราการเรียนเร็วช้าของแต่ละคน เช่นผู้เรียนที่เรียนรู้ได้เร็วจะได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป โดยไม่ต้องเสียเวลา ส่วนผู้เรียนช้าก็สามารถเรียนได้ตามอัตราการเรียนรู้ของตนโดยไม่เกิดปมด้อย นอกจากนี้ยังสามารถตอบนสนองทั้งด้านรูปแบบของแต่ละคน ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลนี้ เป็นผลให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม หรือ บทเรียนสำเร็จรูป เครื่องช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดการสอนรายบุคคล เป็นต้น แนวความคิดอย่างที่ 2) ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) แต่เดิมเคยมีความเชื่อว่าผู้เรียนจะเริ่มเรียนได้ต้องมีความพร้อมโดยเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของพัฒนาการ ปัจจุบันทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ได้ศึกษาพบว่า ความพร้อมทางการเรียนเป็นสิ่งที่สามารถจัดขึ้นได้โดยการจัดบทเรียน ลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยาก และเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียนก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี นวัตกรรมการศึกษาที่เชื่อมกับแนวคิดนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ ชุดการสอน แนวคิดตัวต่อไปที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ แนวคิดที่ 3) คือ แนวคิดพื้นฐานในเรื่อง การเวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมจะระบุไว้แน่นอน ตายตัว เป็นภาคเรียน แนวคิดในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษานี้ เพื่อให้สัมพันธ์และมีความเหมาะสมกับลักษณะของรายวิชาแต่ละวิชา ซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากันเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้เวลาในการศึกษาตามความสามารถและความจำเป็นของแต่ละคนนวัตกรรมที่ตอบสนองการเรียนรู้นี้ได้แก่ ตารางเรียนแบบยืดหยุ่น มหาวิทยาลัยเปิด เป็นต้น และแนวคิดพื้นฐานที่ทำให้เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้ อย่างที่ 4) แนวคิดพื้นฐานจากผลอันเนื่องมาจากการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มของประชากร ซึ่งผลกระทบดังกล่าว ทำให้ความต้องการทางด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นตลอดจนความจำเป็นที่ต้องศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และการดำรงชีวิตอีกทั้ง การศึกษาในระบบนั้นไม่สามารถจัดให้ไดอย่างเพียงพอ เป็นผลที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเปิด (open  university)การเรียนทางวิทยุโทรทัศน์   การเรียนทางไปรษณีย์  แบบเรียนสำเร็จรูป และชุดการเรียนนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนแบบตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่  สไลด์  แผ่นใส  เอกสารตำราสารเคมี สิ่งพิมพ์ต่างๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
2. สื่อประเภทอุปกรณ์  ได้แก่  ของจริง  หุ่นจำลอง  เครื่องเล่นเทปเสียง  เครื่องเล่นวีดีทัศน์  เครื่องฉายแผ่นใส  อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
3. สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ  ได้แก่  การสาธิต  การอภิปรายกลุ่ม  การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน  การจัดนิทรรศการ  และสถานการณ์จำลอง
4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์  ได้แก่  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (cai) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (computer  presentation) การใช้ internet และ internet เพื่อการสื่อสารและการใช้  www  ( world  wide  web )



          ในปัจจุบันนวัตกรรมมีรูปแบบหลากหลายมากมาย  เพื่อให้เราสามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของบริบทแต่ละสถานที่ผู้เรียน  และปัจจัยอื่นๆด้วย  ซึ่งสามารถเลือกใช้ตามประเภทของนวัตกรรม  ดังนี้           
                   1. บทเรียนสำเร็จรูป                               7. สไลด์

                   2. ชุดการสอน                                        8. เกม
                   3. แผ่นภาพโปร่งใส                               9. สื่อประเภทอุปกรณ์  
                   4. เอกสารประกอบการสอน                10. มัลติมีเดีย          
                   5. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน        11. internet               
                   6. วีดีทัศน์                                            12.  e - Learning     
                  ดังนั้นในการพัฒนาการศึกษา  เราจะมีวิธีการอย่างไรที่จะสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้คนสนใจ  และใคร่ที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา   เพราะนวัตกรรมการเรียนการสอน ต่อไปน่าจะมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น  เพราะปัจจุบันมีการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ซึ่งต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง  เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้เรียนจึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ   ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายมีความสนใจกระตือรือร้นและเกิดความอยากรู้อยากเห็น  สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้  ครูผู้สอนต้องมีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมประเภท  Multimedia  สามารถจัดทำสื่อนวัตกรรมออกมาใช้ในการเรียนการสอน  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ   ผู้เรียนจะต้องสนใจใฝ่เรียนรู้ในเรื่องของการใช้นวัตกรรมในรูปแบบของไอทีให้มากขึ้น  เพื่อจะได้เกิดความคุ้นเคยแล้วสามารถใช้สื่อได้อย่างถูกต้อง  และสถานศึกษาต้องจัดทำสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ให้พร้อมเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและทำให้การจัดกระบวนการเรียนการสอนมีความสมบูรณ์  ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการนำนวัตกรรมการเรียนรู้ไปพัฒนาการศึกษาให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป


อ้างอิง   http://www.classifiedthai.com/content.php?article=7077

ครู-คนสอนคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์สอนคน

สืบเนื่องจากวันครูที่ผ่านไปเลยอยากจะพูดถึงการเป็นครูสอนคอมพิวเตอร์หรือผู้สอนด้านไอที ซึ่งโดยทั่วไปก็หมายถึงครูที่สอนหัวข้อต่าง ๆ เช่น การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กราฟิก จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์ การพัฒนาเว็บไซต์ หรือแม้แต่คุณครูแนะแนวทางด้านสายอาชีพในไอที ซึ่งพูดถึงครูคอมพิวเตอร์ดีเด่นนั้นเท่าที่สำรวจจากครูที่ได้รับรางวัลจากสมาคมวิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ของ IEEE ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 นั้นพบว่าเริ่มแรกคุณครูที่ได้รับรางวัลจะมีผลงานโดดเด่นด้านการผลิต “สื่อการเรียนการสอน” หรือ “ตำรา” คอมพิวเตอร์ที่ใช้กันแพร่หลาย

จนยุคต่อมามักจะเป็นคุณครูที่มี “การวิจัย” ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ การปรับ “หลักสูตร” สนับสนุน “กิจกรรม” ที่ส่งเสริมการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ เช่น จัดการแข่งขัน การ “สร้างแรงบันดาลใจ” ให้คนเรียนด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น และคุณครูท่านล่าสุดที่ได้รับรางวัลเมื่อ 3 ปีที่แล้วคือ ดร.จูดี้ โรเบิร์ตสัน (Judy Robertson)จากมหาวิทยาลัยเฮริออต-วัตต์ ประเทศสกอตแลนด์ ผู้ใช้ “นวัตกรรม” ใหม่ในการสอนเขียนโปรแกรมผ่านการสร้างเกมสามมิติ รวมถึงใช้เกมในการเรียนรู้ ลองดูผลงานวิจัยตลอด 8 ปีของคุณครูท่านนี้ได้ที่ http://judyrobertson.typepad.com/

ในส่วนของประเทศไทยเราเมื่อต้นปีก็เพิ่งมีคุณครูคอมพิวเตอร์ที่เพิ่งได้รับรางวัลเกี่ยวกับการเรียนการสอน ทั้งระดับคณะ มหาวิทยาลัย ประเทศไทยและนานาชาติมาซึ่งท่านก็มีผลงานต่อเนื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์มาตลอดโดยทำมาเกือบทุกด้านไม่ว่าจะเป็น “สื่อการเรียนการสอน” “ตำรา” “การวิจัย” “หลักสูตร” “กิจกรรม” และ “นวัตกรรม” ซึ่งเป็นที่น่าภูมิใจของวงการคอมพิวเตอร์บ้านเราได้เลยทีเดียว

ส่วนอีกด้านก็คือการใช้คอมพิวเตอร์เป็นครู ซึ่งมีประวัติยาวนานตั้งแต่ช่วงประมาณปี พ.ศ. 2500 บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์สำหรับสอนที่มหาวิทยาลัยอัลเบอตา ประเทศแคนาดา มุ่งเน้นในการสอนความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ให้กับผู้ใช้งานที่ไม่คุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์และเป็นต้นแบบให้กับการเรียนการสอนทางไกล ซึ่งทั่วไปเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือไอทีก็จะมีเนื้อหา 5 ด้านหลัก คือ การให้ความเข้าใจด้านการประยุกต์ “ใช้งานเบื้องต้น” เช่น การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อมาคือการรู้ตระหนักถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ “จริยธรรม” ในการใช้งานเครือข่าย สามคือการใช้งาน “เครื่องมือสร้างงาน” ประเภทต่าง ๆ เช่น ตกแต่งภาพ พิมพ์งาน สี่คือใช้งาน “เครื่องมือสื่อสาร” เช่น เมล หรือเว็บไซต์ที่ใช้ติดต่อสื่อสารได้ และ สุดท้าย “เครื่องมือที่ใช้ค้นคว้าข้อมูล” เช่น เว็บค้นหา และฐานข้อมูลที่สำคัญ

ยุคต่อมาการสอนโดยครูที่เป็นคอมพิวเตอร์นั้นได้พัฒนาความสามารถในการแสดงผลข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นในการเรียนรู้ เช่น ภาพ ตาราง กราฟ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ นอกเหนือจากการพิมพ์ด้วยแป้นพิมพ์ เช่น การใช้เมาส์ หรือจอสัมผัสในการเลือก การใช้เสียงในการโต้ตอบ เป็นต้น จนปัจจุบันมีให้เห็นทั้งด้านอุปกรณ์เสริมใหม่ ๆ หรือครูคอมพิวเตอร์สายพันธุ์ใหม่ที่มาในรูปแบบอื่นกลายเป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ใช้งานหลักเฉพาะทางไป อย่างเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กระดานชนวนอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือที่เป็นคอมพิวเตอร์ โต๊ะทำงานที่เป็นคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

สำหรับบทเรียนที่คอมพิวเตอร์ครูเหล่านี้สอนได้ ก็ถูกพัฒนาขึ้นมากมายจากเดิมที่มีแค่ระดับการเรียนการสอนสำหรับเด็กสู่ระดับที่สูงขึ้น เช่น ใช้งานในธุรกิจ อย่างระบบจำลองการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม หรือบทเรียนให้ความรู้เชิงธุรกิจที่จำเป็นต่อองค์กร ซึ่งข้อดีของบทเรียนที่สอนโดยคอมพิวเตอร์ครูจะเหมือนกันตรงที่นักเรียนจะเรียนได้อย่างที่เรียกกันว่า “ผู้เรียนเป็นหลัก” คือเรียนได้ตามความเร็วในการเรียนรู้ของตนเอง

เมื่อสำรวจในประเทศไทยก็จะพบว่าปัจจุบันมีบริการให้ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ หรือมีคอมพิวเตอร์ที่เป็นครูเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ ชุดสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แผ่นซีดีสอนเรื่องจิปาถะที่วางขายในซูเปอร์มาร์เกต หรือระบบช่วยสอนเฉพาะทาง อย่างเช่น ล่าสุดทางโรงพยาบาลราชวิถี ก็กำลังพัฒนาระบบสำหรับแพทย์เพื่อฝึกการตรวจอัลตราซาวด์ได้โดยไม่ต้องมีคนไข้จริง ซึ่งก็น่าจะนับได้ว่า เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เป็นครูสอนเรื่องเฉพาะทางได้เหมือนกัน

ครูที่เป็นคอมพิวเตอร์เหล่านี้สามารถทำงานหนักโดยไม่ต้องบ่นเหนื่อย แต่อย่างไรก็ตามคงไม่เท่าครูที่เป็นคนไม่ว่าจะสอนคอมพิวเตอร์หรือสอนอะไรก็ตาม ทั้งคู่ต่างก็มีพระคุณต่อผู้เรียน แต่ต่างกันตรงครูที่เป็นคนคงต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครูใส่เข้าไป ซึ่งตอนนี้ยังหาโปรแกรมจิตวิญญาณที่ว่านี้ไม่พบในส่วนของคอมพิวเตอร์ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยปรับทัศนคติในการเรียนรู้ การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นทั้งในโลกคอมพิวเตอร์และโลกจริง


อ้างอิง  http://www.kroobannok.com/41372

LMS คืออะไร

LMS คืออะไร

LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ



องค์ประกอบ LMS

LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้

1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม รูปแบบ

2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media

3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน

4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้

5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin กำหนดให้


อ้างอิง  http://www.kroobannok.com/1585

การเรียนการสอนทางไกลแบบมีปฏิสัมพันธ์

การเรียนการสอนทางไกลแบบปฏิสัมพันธ์
        ระบบการเรียนการสอนทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ นับว่าเป็นการเรียนการสอนทางไกลรูปแบบหนึ่ง เพราะทั้งผู้เรียนและผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกัน แต่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันผ่านทางระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้โดยการใช้อุปกรณ์และโปรแกรมคำสั่งในการทำงาน การจัดกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนทางไกลที่เหมาะสม ทำให้การเรียนการสอนทางไกลมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่ง สุรชัย สิกขาบัณฑิต (2541) กล่าวว่า การจัดกิจกรรมที่เหมาะสม ย่อมทำให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างดียิ่ง ดังนี้
     1. ช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มผลสัมฤทธิ์และความคงทนในกาเรียนรู้
     2. ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น

     3. เสริมสร้างและพัฒนาการทางสังคมให้กับผู้เรียน
     4. ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปแบบกระฉับกระเฉง (Active Learning)
     5. ช่วยในการตรวจสอบการใช้เทคโนโลยีของผู้เรียนและผู้สอน ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน

         การมีปฏิสัมพันธ์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการเรียนการสอนทางไกล ผู้เรียนและผู้สอนต้องมี ปฏิสัมพันธ์ต่อกันโดยตรงและสามารถทำกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยการใช้สื่อปฏิสัมพันธ์ มาร์ติน และคณะ (Martin and Others. 1996) ได้ทำการศึกษาโปรแกรมการสอนทางไกลแบบสองทาง พบว่า การสอนทางไกลแบบสองทางที่ดีจะต้องมีการสร้างวิธีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีด้วย ซึ่งสอดคล้องกับ สุรชัย สิกขาบัณฑิต (2541) ที่กล่าวว่าการสอนทางไกลที่ดีต้องมีวิธีการปฏิสัมพันธ์ 5 ลักษณะ คือ
1. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
2. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
3. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใดบุคคลหนึ่งตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
4. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเทคโนโลยี
5. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับเทคโนโลยี
       การปฏิสัมพันธ์ทั้ง 5 ลักษณะดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนและคนกับเครี่อง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้สอนจัดให้มีขึ้น ผู้สอนต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า จัดเตรียมกิจกรรมไว้เป็นลำดับในแผนการสอน
        การสร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถกระทำได้ในทุก ๆ กระบวนการของการเรียนการสอน ตั้งแต่เริ่มต้นจบเสร็จสิ้นกระบวนการ เช่น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับ ผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน สามารถกระทำโดยการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การสนทนาโต้ตอบทันทีทันใด (Chat) การถามตอบปัญหา (FAQ) เป็นต้น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนกับเทคโนโลยี ได้แก่ กิจกรรมการการท่องหาความรู้ไปตามเว็บไซต์ต่างๆ (WWW) กิจกรรมการสืบค้นข้อมูลผ่านเครื่องมือสืบค้น (Search Engine) การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP) เหล่านี้เป็นต้น


อ้างอิง  http://www.kroobannok.com/38

การเรียนการสอนแบบ e - Learning

การเรียนที่เรียกว่า e-Learning เป็นวิธีการเรียนรู้แบบใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจและสร้าง มิติใหม่ของการเรียนรู้ที่เปิดกว้างกระจายไปถึงผู้คนได้ทั่วโลก สร้างโอกาสของการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตและเรียนในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ด้วยการเข้าถึงฐานความรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และติดต่อสื่อสารถึงกันและกันได้อย่างรวดเร็ว เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (ไอทีปริทัศน์. 2544 : 1)
 e-Learning เป็นการเรียนการสอนทางไกลที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง World Wide Web ซึ่ง ผู้เรียนและผู้สอนใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลมากมาย ที่มีอยู่ทั่วโลกอย่างไร้ขอบเขตจำกัด ทำให้ระบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นระบบปิดมาเป็นระบบเปิด ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งวิชาที่มีการเชื่อมโยงอยู่ในเว็บ โดยไม่มีอุปสรรคทางด้านภูมิศาสตร์ ระยะทาง และเวลา การเรียนในลักษณะนี้ช่วยทำให้ผู้สอนและผู้เรียนเป็นอิสระจากปัญหาการจัดตารางเรียนตารางสอน เพราะผู้เรียนสามารถเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนได้ตามความสะดวกตามต้องการ ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการเรียนด้วยตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามพัฒนาการของตนเอง ช่วยในการปรับเปลี่ยนบทบาทของผู้สอนจากผู้บอกและถ่ายทอดมาเป็นผู้ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และอำนวยความสะดวก ในขณะที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าและสำรวจข้อมูลในลักษณะการเรียนรู้ร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองมิใช่เป็นแต่เพียงผู้รอรับ
 ดังนั้น e-Learning จึงเป็นวิธีการเรียนรู้ที่สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ทำให้การศึกษา เกิดขึ้นได้ในทุกที่ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน สถานศึกษา และอื่น ๆ การเรียนรู้เน้นการแสวงหาและการรู้จักเลือก ข้อมูลเพื่อการเสริมแต่งความรู้ เป็นการเรียนรู้ที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกลุ่มที่เรียนรู้ร่วมกัน และยังสามารถขยายความสัมพันธ์ไปยังบุคคลภายนอกกลุ่มที่ติดต่อ หรือเป็นแหล่งทรัพยากรของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและพึ่งพาช่วยเหลือกัน ทั้งนี้การเชื่อมต่อถึงกันผ่านระบบเครือข่ายทำให้มีช่องทางของการติดต่อระหว่างกัน ช่วยลดช่องว่างระหว่างผู้เรียนและผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนได้อีกด้วย

อ้างอิง  http://www.kroobannok.com/37

การนำ e - Learning ไปใช้ประกอบการเรียนการสอน

สามารถทำได้ 3 ระดับ ดังนี้
  • สื่อเสริม
  • สื่อเติม
  • สื่อหลัก (Supplementary)


หมายถึงการนำ e - Learning ไปใช้ในลักษณะสื่อเสริม กล่าวคือ นอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะ e - Learning แล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันนี้ในลักษณะอื่นๆ เช่น จากเอกสาร (ชีท) ประกอบการสอน จากวิดีทัศน์ (Videotape) ฯลฯ การใช้ e - Learning ในลักษณะนี้เท่ากับว่าผู้สอนเพียงต้องการ จัดหาทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่งสำหรับผู้เรียนในการเข้าถึงเนื้อหาเพื่อให้ประสบการณ์พิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้เรียนเท่านั้น


(Complementary) หมายถึงการนำ e - Learning ไปใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนในลักษณะอื่นๆ เช่น นอกจากการบรรยายในห้องเรียนแล้ว ผู้สอนยังออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมจาก e - Learning ในความคิดของผู้เขียนแล้ว ในประเทศไทย หากสถาบันใด ต้องการที่จะลงทุนในการนำ e - Learning ไปใช้กับการเรียน การสอนตามปรกติ (ที่ไม่ใช่ทางไกล) แล้ว อย่างน้อยควรตั้งวัตถุประสงค์ในลักษณะของสื่อเติม (Complementary) มากกว่าแค่เป็นสื่อเสริม (Supplementary) เช่น ผู้สอนจะต้องให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจาก e - Learning เพื่อวัตถุประสงค์ ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียนในบ้านเราซึ่งยังต้องการคำแนะนำจากครู ผู้สอนรวมทั้งการที่ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดการปลูกฝังให้มีความใฝ่รู้โดยธรรมชาติ


(Comprehensive Replacement) หมายถึงการนำ e - Learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่ การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดออนไลน์ ในปัจจุบัน e - Learning ส่วนใหญ่ในต่างประเทศ จะได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นสื่อหลักสำหรับแทนครู ในการสอนทางไกล ด้วยแนวคิดที่ว่า มัลติมีเดีย ที่นำเสนอทาง e - Learning สามารถช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาได้ใกล้เคียงกับการสอนจริงของครูผู้สอนโดยสมบูรณ์ได้


คุณสมบัติของ e - Learning
e-Learning เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายในตัวเอง เป็นวิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และการฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ซึ่งคุณสมบัติของ e-Learning มีดังนี้


1. e-Learning is dynamic หมายถึง เนื้อหาและข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในระบบ e-Learningเป็นข้อมูลที่มีความเป็นพลวัต (Dynamic) มากกว่า แตกต่างจากเนื้อหาสาระที่ปรากฏอยู่ในตํ าราหรือเอกสาร ซึ่งมีความเป็นสถิตย์ (Static) ยากต่อการเปลี่ยนแปลง ความเป็นพลวัตของข้อมูลในe-Learning จัดว่าเป็นคุณสมบัติเด่นที่ทํ าให้ e-Learning มีประโยชน์ต่อการศึกษาในปัจจุบันที่อยู่ในยุคของโลกไร้พรมแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกอบรม เนื่องจากการการประกอบอาชีพต้องการเนื้อหาสาระที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก


2. e-Learning operates in real time หมายถึง การทํ างานของระบบ e-Learning เป็นระบบเวลาจริงที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ตามที่ต้องการ คล้ายกับการเรียนการสอนปกติในชั้นเรียน


3. e-Learning is empowering หมายถึง ความสามารถของระบบ e-Learning ในการควบคุมการนํ าเสนอเนื้อหาสาระ การจัดกิจกรรมการเรียน การนํ าเสนอสื่อการเรียนการสอน และส่วนของการจัดการอื่น ๆ ตามความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนแต่ละคนจึงได้รับองค์ความรู้ที่แตกต่างกันตามความสามารถและความถนัดของตนเอง


4. e-Learning is individual หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของ e-Learning จะสัมพันธ์กับประสบการณ์ของผู้เรียนแต่ละคน ได้แก่ ความรู้พื้นฐาน ลักษณะงานที่ทํ าอยู่ในปัจจุบันและข้อมูลประกอบอื่น ๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่างผู้เรียนแต่ละคน


5. e-Learning is comprehensive หมายถึง ความสามารถของ e-Learning ในการจัดการกับข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ อย่างเข้าใจและชาญฉลาด เพื่อนํ าเสนอข้อมูล เหตุการณ์ และวิธีการ ผ่านสื่อข้อความ ภาพ หรือเสียง ไปยังผู้เรียน


6. e-Learning enables the enterprise หมายถึง ความสามารถในการสร้างงานหรือภารกิจของ e-Learning ที่มีต่อกลุ่มผู้เรียนหรือสมาชิกผู้ประกอบการด้วยกัน โดยการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน ทํ าให้เกิดกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ที่ร่วมเป็นเครือข่ายเดียวกัน ส่งผลให้การสร้างข่ายงานกว้างไกล
และทัดเทียมกันมากขึ้น


7. e-Learning is effective หมายถึง ความสามารถทางด้านประสิทธิผลของ e-Learningในการทํ าให้ผู้เรียนมีการปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนแล้วได้รับความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ตลอดจนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง (Retention of Learning)


8. e-Learning is express หมายถึง ความรวดเร็วของ e-Learning ในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างรวดเร็วตามต้องการ เนื้อหาสาระที่นํ าเสนอไม่เพียงแต่มีความรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังคงไว้ซึ่งความทันสมัยและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

อ้างอิง   http://www.kroobannok.com/23414

คุณภาพของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


เมื่อกล่าวถึงคำว่า “คุณภาพ” ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของเกณฑ์การประเมินมาตรฐานหรือชี้ตัววัดประสิทธิภาพต่างๆ ที่จะช่วยให้เราคาดหมายสิ่งที่เราต้องการจะวัด ว่ามีคุณภาพเพียงใด ตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเราขับรถตามรถคันหน้าที่มีสภาพ บุบบิบ ปุปุ ปะปะ หลายแห่ง แถมที่ท้ายรถยังมีข้อความว่า “นักรบย่อมไม่กลัวบาดแผล” เราคงต้องชะลอความเร็วลงหน่อยแล้วชั่งใจตัวเองว่าจะขับรถตามคันหน้าต่อไปดีไหมนั้นเพราะเราประเมินคุณภาพการขับรถคันหน้าจากสภาพที่เราเห็น

ในเรื่องสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเบื้องต้นก็คงเช่นเดียวกัน ในลักษณะของผู้ชมผู้ใช้สื่อดังกล่าว จะให้ความสนใจกับสภาพทีเห็นจากจอคอมพิวเตอร์เป็นประการแรกก่อน แต่แค่สภาพที่เห็นในการวัดคุณภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเท่านั้นยังไม่พอ จึงได้มีความพยายามที่จะจัดทำเกณฑ์การประเมินสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้อย่างหลากหลาย โดยคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการเป็นหลัก (ถนอมพร, 2541 : 8-10) คือ





หมายถึงเนื้อหาสาระ (content) ที่ผู้ผลิตพัฒนารวบรวมเรียบเรียงมาอย่างดีแล้ว เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งในลักษณะของการนำเสนอนั้นอาจแตกต่างกันไป ตามแต่ละประเภทสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบ และเนื้อหานี่เองจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยแยกความแตกต่างระหว่างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับเกมทั่วไปที่มุ่งแต่ความสนุกสนานเพลิดเพลิน




กล่าวคือสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะต้องมีการยืดหยุ่นมากพอที่ผู้เรียนจะมีอิสระในการควบคุมการเรียนของตนได้ ซึ่งมีอยู่หลายลักษณะ เช่น การควบคุมเนื้อหา การควบคุมลำดับของการเรียน และการควบคุมการฝึกปฏิบัติหรือการทดสอบ




หรือการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ซึ่งก็คือผู้สอนในขณะนั้น การโต้ตอบที่ดีจะต้องมีการวิเคราะห์ออกแบบให้เหมาะสม สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับบทเรียนและเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ




ซึ่งตามแนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner) การให้ผลป้อนกลับจะเป็นการเสริมแรง (reinforcement) อย่างหนึ่ง ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนได้เป็นอย่างดี ลักษณะของการให้ผลป้อนกลับโดยทันทีที่จะช่วยแยกให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับสื่อการนพเสนออื่น คือ การให้ผลป้อนกลับในลักษณะของการประเมินความเจ้าใจของผู้เรียน

ฉะนั้นภาพรวมของเกณฑ์การประเมินสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั่วไป จึงให้ความสำคัญในเรื่องเนื้อหา (content) และการออกแบบระบบการเรียนการสอน (instructional design) เป็นหลัก

เนื้อหาบทเรียนที่ดีจะต้องมีความถูกต้องตามหลักวิชา เป็นปัจจุบันไม่ล้าสมัย โครงสร้างเนื้อหาชัดเจนมีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง นั่นคือควรจะต้องมีการออกแบบบทเรียนที่ดี นำทางผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจและจำเนื้อหาได้ มีการจัดระบบเนื้อหาสัมพันธ์กับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมของผู้เรียนหรือปูพื้นความรู้เดิมเพื่อเชื่อมโยงไปสู่ความรู้ใหม่ มีลำดับขั้นตอนของการนำเสนอความยากง่าย มีการนำเสนอวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนรู้ล่วงหน้าถึงประเด็นสำคัญของเนื้อหา เค้าโครงเนื้อหาอย่างกว้างๆ ผู้เรียนจะสามารถผสมรายละเอียดส่วนย่อยให้สัมพันธ์กับเนื้อหาส่วนใหญ่ทำให้ผลการเรียนรู้มีประสิทธิภาพขึ้น ที่สำคัญเนื้อหาควรจะนำเสนอได้ตรงและครอบคลุมตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ เหมาะสมกับระดับความยากง่ายของผู้เรียนและมีการใช้ภาษาที่ถูกต้องทั้งตัวสะกด ไวยากรณ์ข้อความและการออกเสียง

และตามหลักจิตวิทยา การดึงดูดความสนใจถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะนำพาให้ผู้เรียนไปสู่พฤติกรรมเป้าหมาย ซึ่งระบบการเรียนการสอนที่ดีควรแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบคือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ไม่ได้ลอกเลียนแบบใครและปฏิบัติได้จริงไม่ใช่สิ่งเพ้อฝัน มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนอย่างเหมาะสม สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งผู้เรียนอ่อน ปานกลาง และเก่ง ให้โอกาสผู้เรียนควบคุมลำดับการเรียนรู้อย่างเหมาะสม มีแบบฝึกปฏิบัติหรือแบบฝึกหัดและการประเมินผลที่ครอบคลุมจุดประสงค์ เพราะการวัดและการประเมินผลจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนที่ไม่ควรจะขาดหายไป การวัดและการประเมินผลก่อนเริ่มต้นเรียนเป็นการกระทำเพื่อจัดวางตำแหน่งของผู้เรียนเพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานจำเป็นเพียงพอต่อการเรียนหรือไม่


ส่วนการประเมินผลในระหว่างเรียนเพื่อตรวจสอบความรู้ความสามารถของผู้เรียนขณะเรียนและการประเมินผลหลังสิ้นสุดการเรียนจะเป็นการสรุปผลการเรียนที่ผ่านมาซึ่งเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับการให้ผลป้อนกลับ (feedback) เพื่อเสริมแรงอย่างเหมาะสม การให้ผลป้อนกลับที่ดีควรจะเป็นผลป้อนกลับในเชิงบวก (positive) เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้สึกที่ดี เช่น การให้คำชม การให้รางวัลมีคำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าทำถูกหรือทำผิดอย่างไร ซึ่งนอกจากจะเป็นการเสริมแรงแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามคิดหาคำตอบที่ถูกต้องต่อไป แต่ทั้งหมดนี้ข้อสำคัญอย่างหนึ่งของการออกแบบระบบการเรียนการสอนที่ผู้ผลิตและพัฒนาต้องคำนึงถึงก็คือ ระบบจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์เป็น เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

นอกจากในเรื่องของเนื้อหา และการออแบบระบบการเรียนการสอน ซึ่งถือเป็นเกณฑ์หลักๆ ในการประเมินคุณภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เกือบทุกค่ายหรือทุกๆ สำนักที่จัดประกวดหรือตรวจประเมินคุณภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะวางหลักเกณฑ์ไว้โดยใช้ชื่อ เรียกแตงต่างกันออกไปแล้ว เกณฑ์ประกอบอื่นในทัศนะของผู้เขียนที่เห็นว่าสำคัญก็คือเรื่องของการออกแบบหน้าจอ (screen design) เอกสารหรือคู่มือประกอบและเทคนิคที่ใช้ในการผลิต



การออกแบบหน้าจอ ในสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีก็คือรูปลักษณ์ที่เราเห็นที่หน้าจอคอมพิวเตอร์แต่ก็ไม่ใช่เพียงการมองผ่านแค่บางหน้าจอ หากต้องเป็นการมองเพื่อพิจารณาต่อเนื่องตลอดทั้งเรื่อง ในสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีควรจะมีการจัดวางองค์ประกอบที่หน้าจอได้อย่างเหมาะสม สวยงาม ง่ายต่อการใช้รูปแบบตัวอักษรมีขนาด สี ชัดเจน อ่านง่าย เหมาะสมกับวัยผู้เรียน ใช้สีได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน สื่อความหมายสอดคล้องกับแนวของเนื้อหา การใช้ปุ่มข้อความ หรือแถบข้อความ หรือรูปภาพ ชัดเจนเหมาะสมและถูกต้อง เพราะปุ่มจะเป็นสิ่งกำหนดการเดินทางเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าไปยังบทเรียนได้ตามความประสงค์การใช้กราฟิกเป็นปุ่มกำหนดทิศทางทำให้ดูน่าสนใจ แต่ข้อเสียคือ หากใช้ขนาดไม่เหมาะสมอาจใช้เวลาในการถ่ายโอนข้อมูลนาน ดูเกะกะ และถ้าใช้เอฟเฟ็กต์ในการแสดงปุ่มมากไป ผู้ใช้ก็จะไม่เข้าใจ จึงควรมีความสม่ำเสมอในการใช้ปุ่ม สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นสากล เช่น การกำหนดทิศทางใช้ลูกศร ผู้ใช้จะเข้าใจง่ายสะดวกขึ้น

ในการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อที่จะหวังผลให้ได้เต็มประสิทธิภาพของสื่อ เอกสารหรือคู่มือประกอบย่อมเป็นเรื่องจำเป็น ต้องเป็นที่ยอมรับกันว่า ณ ปัจจุบันในประเทศไทยของเรา พื้นฐานความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ทั้งผู้เรียนและผู้สอนทุกคนไม่เท่ากัน ฉะนั้นการมีคู่มือการใช้โปรแกรมที่ดี จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น



ในเรื่องของเทคนิคที่ใช้ในการผลิตนั้น จะเป็นเกณฑ์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะมาช่วยควบคุมคุณภาพของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเป็นตัวช่วยที่จะแบ่งประเภทของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้ชัดเจนในลักษณะของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เดี่ยวๆ (standalone) และระบบที่ใช้ผ่านเว็บอันเป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาก้าวไกลอย่างไม่หยุดยั้งในขณะนี้

เพราะสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบที่ใช้ผ่านเว็บจะต้องใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browaer) เป็นเครื่องมืออ่านเอกสารบนเว็บ ที่เรารู้จักกันดีคือ Internet Explorer และ Netscape เพราะมีลงอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เกือบทุกเครื่องแล้ว ผู้ใช้สามารถใช้ได้ทันที

ในส่วนของโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างและพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เราจะใช่ผ่านเว็บสามารถแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือประเภท Web Authoring เช่น Front Page, Dreamweaver ฯลฯ พวกนี้สามารถแสดงผลได้ทั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เดี่ยวๆ และผ่านเว็บ แต่อีกประเภทหนึ่งคือ Web Programming เช่น ASP, CGI, PHP ฯลฯ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมสำหรับประมวลผลข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ เช่น ระบบฐานข้อมูลผู้เรียน ระบบประเมินผลผู้เรียน (คลังข้อสอบ) ฯลฯ ซึ่งไม่สามารถแสดงผลให้เห็นได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เดี่ยวๆ

ฉะนั้นเกณฑ์ในเชิงเทคนิคที่จะใช้ประเมินคุณภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้งสองประเภทจึงต้องแตกต่างกัน ในสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เดี่ยวๆ เกณฑ์ที่ควรนำมาพิจารณาคือสามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำตามที่ผู้พัฒนากำหนดได้โดยไม่มีปัญหา นั่นหมายถึงว่าต้องมีการทดสอบโปรแกรมมาอย่างดีก่อน มีระบบการเข้าสู่โปรแกรมโดยอัตโนมัติ (autorun) หรือมีระบบการติดตั้งโปรแกรม (installation) การแสดงผลภาษาไทยถูกต้อง ภาพและเสียงที่ใช้ประกอบแสดงผลได้ถูกต้อง รวดเร็ว

สำหรับเกณฑ์ในเชิงเทคนิคของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระบบผ่านเว็บที่แตกต่างออกไปก็ควรพิจารณาที่การแสดงผลได้อย่างถูกต้องผ่านเว็บเบราว์เซอร์ Internet Explorer หรือ Netscape ความถูกต้องของ Web Programming รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังจุดต่างๆ ทั้งภายในตัวสื่อและระหว่างเว็บ ทั้งนี้รายละเอียดหลีกย่อยของเกณฑ์ในเชิงเทคนิคยังมีอีกมาก เช่น Version ของเบราว์เซอร์ที่จะใช้ ความแตกต่างของ Web Programming ต่างๆ ที่ถูกสร้างและพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลาที่เปลี่ยนไป ฉะนั้นเกณฑ์ในส่วนนี้จึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอจึงจะสามารถประเมินคุณภาพสื่อได้อย่างถูกต้อง

จากทั้งหมดที่กล่าวมาคงเป็นแนวทางคร่าวๆ ของการประเมินสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้สื่อได้อย่างมีคุณภาพในเบื้องต้นซึ่งคงจะไม่ใช่เพียงการมองรูปลักษณ์ที่เห็นเท่านั้น

ก็คงเหมือนกับที่เราขับรถตามหลังรถที่มีข้อความ “นักรบย่อมไม่กลัวบาดแผล” ในตอนต้น แต่เผอิญว่าวันนี้ นางสาวเรียบร้อย มารยาทงาม เป็นคนขับ ไม่ใช่ นายเก่ง ลุยทุกเรื่อง เจ้าของตัวจริงขับ เราก็คงจะขับรถตามรถที่ นางสาวเรียบร้อย มารยาทงาม ขับไปถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย แม้ในเบื้องต้นจะไม่มั่นใจในสภาพที่ตาเห็นเท่าไรนักก็ตาม


อ้างอิง   http://www.kroobannok.com/22784

นวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรมคืออะไร
          นวัตกรรม

“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)

คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)

นวัตกรรมการศึกษา

          "นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)           “นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น เทคโนโลยีทางการศึกษา

          เทคโนโลยี  หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm) 
          เทคโนโลยีทางการศึกษา (
Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm) 
 

นวัตกรรมทางการศึกษาที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน

          E-learning

          ความหมาย e-Learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง "การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ"เช่นเดียวกับ คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning หมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ           1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room           2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น           ความหมายของ e-Learning ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนคำถามที่ถูกถามบ่อย (Frequently Asked Question : FAQ) ในเวป www.elearningshowcase.com ให้นิยามว่า e-Learning มีความหมาย เดียวกับ Technology-based Learning นั้นคือการศึกษาที่อาศัยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบที่ สำคัญ ความหมายของ e-Learning ครอบคลุมกว้างรวมไปถึงระบบโปรแกรม และขบวนการที่ ดำเนินการ ตลอดจนถึงการศึกษาที่ใช้ คอมพิวเตอร์เป็นหลักการศึกษาที่อาศัยWebเป็นเครื่องมือหลักการศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง และการศึกษาที่ใช้ การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ ระบบดิจิตอล ความหมายเหล่านี้มาจากลักษณะของการส่งเนื้อหาของบทเรียนผ่านทาง อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ ซึ่งรวมทั้งจากในระบบอินเตอร์เน็ต ระบบเครือข่ายภายใน (Intranets) การ ถ่ายทอดผ่านสัญญาณทีวี และการใช้ซีดีรอม อย่างไรก็ตาม e-Learning จะมีความหมายในขอบเขต ที่แคบกว่าการศึกษาแบบทางไกล (Long distance learning) ซึ่งจะรวมการเรียนโดยอาศัยการส่ง ข้อความหรือเอกสารระหว่างกันและชั้นเรียนจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเขียนข้อความส่งถึงกัน การนิยามความหมายแก่ e-learning Technology-based learning และ Web-based Learning ยังมี ความแตกต่างกัน ตามแต่องค์กร บุคคลและกลุ่มบุคคลแต่ละแห่งจะให้ความหมาย และคาดกันว่าคำ ว่าe-Learning ที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 ในที่สุดก็จะเปลี่ยนไปเป็น e-Learning เหมือนอย่าง กับที่มีเปลี่ยนแปลงคำเรียกของ e-Business           การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)           ห้องเรียนเสมือนจริง

          การเรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ เป็นรูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดนมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า Virtual Classroom ไว้ดังนี้
ศ. ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ ได้กล่าวถึงความหมายของห้องเรียนเสมือน(
Virtual Classroom) ว่าหมายถึง การเรียนการสอนที่ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน เข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web Server) อาจเป็นการเชื่อมโยงระยะใกล้หรือระยะไกล ผ่านทางระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตด้วย กระบวนการสอนผู้สอนจะออกแบบระบบการเรียนการสอนไว้โดยกำหนด กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อต่างๆ นำเสนอผ่านเว็บไซต์ประจำวิชา จัดสร้างเว็บเพ็จในแต่ละส่วนให้ สมบูรณ์ ผู้เรียนจะเข้าสู่เว็บไซต์ประจำวิชาและดำเนินการเรียนไปตามระบบการเรียน ที่ผู้สอนออกแบบไว้ในระบบเครือข่ายมีการจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆ ในลักษณะเป็นห้องเรียนเสมือน (ครรชิต มาลัยวงศ์, 2540)           โดยสรุป กล่าวได้ว่าได้ว่า ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็นการเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิด การเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอน สามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและผู้สอน           การศึกษาทางไกล

          การศึกษาทางไกล (Distance Education) หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ ไกลกัน แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสม กล่าวคือ การใช้สื่อต่างๆ ร่วมกัน เช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์ หรือโดยการใช้อุปกรณ์ทาง โทรคมนาคม และสื่อมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์เข้ามาช่วยในการแพร่กระจาย การศึกษาไปยังผู้ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องถิ่น การศึกษานี้มีทั้งในระดับต้นจนถึงระดับสูงขั้นปริญญา การศึกษาทางไกลเป็นการศึกษาวิธีหนึ่งในการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ที่ อาศัยสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลคทรอนิกส์ และสื่อบุคคล รวมทั้งระบบโทรคมนาคมในรูปแบบต่างๆ เป็น หลักการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อเหล่านั้น และอาจมีการสอนเสริม ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้เรียนซักถามปัญหาจากผู้สอนหรือผู้สอนเสริม โดยการศึกษานี้อาจจะอยู่ใน รูปแบบของการศึกษาอิสระ การศึกษารายบุคคล หรือรูปแบบของมหาวิทยาลัยเปิดก็ได้ ตัวอย่างการ ศึกษาทางไกลในประเทศไทย ได้แก่
          มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งในการจัดการเรียนการ สอนของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ใช้ สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นหลัก โดยมี สื่อเสริม คือรายการวิทยุกระจายเสียง และรายการโทรทัศน์บางวิชาอาจ มีเทปคาสเซ็ท วีดิโอเทป หรือสื่อพิเศษอย่างอื่นร่วมด้วย นักศึกษาจะเรียนด้วยตนเอง โดยอาศัยสื่อ เหล่านี้เป็นหลัก แต่มหาวิทยาลัยก็จัดการสอนเสริมเป็นครั้งคราวซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สอนและผู้เรียนได้พบกันเพื่อซักถามข้อสงสัยหรือขอคำอธิบายเพิ่มเติม
 
        

           สื่อหลายมิติ

          สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อ ความหลายมิติ (hypertext) นี้มีมานานหลายสิบปีแล้ว โดย แวนนิวาร์ บุช (Vannevar Bush) เป็นผู้ ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้ หลาย ๆ ข้อมูลในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆ ได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน           การจัดทำสื่อหลายมิติ จัดทำโดยใช้กระบวนการของสื่อประสมในการผลิตเรื่องราวและบท เรียนต่าง ๆ ในรูปลักษณะและวิธีการของข้อความหลายมิติ นั่นเอง โดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์ กลางการเขียนเรื่องราว ซึ่งมีโปรแกรมที่นิยมใช้ หลายโปรแกรมแต่ที่รู้จักกันดี เช่น ToolBook AuthorWare Dreamweaver PowerPoint เป็นต้น          การนำสื่อหลายมิติมาใช้ในการเรียนการสอน 
          มีการนำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการ ผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อน ไหว และเสียงต่าง ๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการที่โรงเรียนฟอเรศต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์ แรพิดส์ สหรัฐ อเมริกา ได้จัดทำบทเรียนสื่อหลายมิติ โดยครูและนักเรียนร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูก ทำลายของป่าฝนในเขตร้อน โดยการค้นคว้าเนื้อหาจากห้องสมุด แล้ว รวบรวมภาพถ่ายภาพเคลื่อน ไหลต่าง ๆ มาเป็นข้อมูลแล้วทำการสร้างเป็นบทเรียนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วย

อ้างอิง  http://gotoknow.org/blog/new429502/279292