วาเลนไทน์สุดโรแมนติก

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทเรียนสำเร็จรูป

ส่วนประกอบของบทเรียนสำเร็จรูป
          ส่วนประกอบของบทเรียนสำเร็จรูป  ประกอบด้วย
  •  1. คำชี้แจง/คำแนะนำในการศึกษาด้วยบทเรียนฉบับนั้น
  • 2. แนวคิด
  • 3. วัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เกิดจากการศึกษาบทเรียนสำเร็จรูป
  • 4. เนื้อหาเรียงลำดับจากง่ายไปยาก
  • 5. แบบฝึกหัด/คำถาม เพื่อทบทวนความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้ศึกษา พร้อมเฉลย
  • 6. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
  • 7. เฉลยแบบทดสอบ
กระบวนการผลิตและพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป
           ขั้นตอนการผลิตและพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปมี 4 ขั้นตอน
  • 1. ขั้นวางแผน (Planning)
  • 2. ขั้นการผลิต (Production)
  • 3. ขั้นการทดลองต้นฉบับ (Prototype testing)
  • 4. ขั้นทดลองใช้จริง
ขั้นวางแผน (Planning)
  • - ศึกษาหลักสูตร เพื่อให้ทราบถึงเนื้อหาสาระที่จะนำมาจัดทำเป็นบทเรียนสำเร็จรูป
  • - กำหนดเนื้อหาสาระที่จะนำมาจัดทำบทเรียน
  • - กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น
  • - จุดประสงค์นำทาง จุดประสงค์ปลายทาง
  • - ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่า เมื่อผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้จบแล้ว ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
  • - วิเคราะห์ความยาก-ง่ายของเนื้อหา
  • - เตรียมสร้างแบบทดสอบทั้งก่อนและหลังเรียนในแต่ละกรอบสาระการเรียนรู้ให้ครอบคลุม
  • - ความรู้ (Knowledge)
  • - ทักษะ/กระบวนการ (Skills Practice/Process)
  • - เจตคติ (Attitude)
ขั้นการผลิต (Production)
  • 1) เขียนบทเรียนสำเร็จรูปประกอบด้วย
  • - จุดประสงค์ของบทเรียนสำเร็จรูป
  • - ข้อทดสอบก่อนและหลังเรียน
  • - กิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละกรอบสาระการเรียนรู้หลักและกรอบสาระการเรียนรู้สาขา
  • - นำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามที่วางแผนไว้
  • - การวัดผลประเมินผล
  • 2) สร้างแผนการเรียนรู้
  • - ศึกษาวิธีการสร้างแผนการเรียนรู้
  • - ศึกษาบทเรียนสำเร็จรูป
  • - เขียนแผนการเรียนรู้ตามเนื้อหา โดยพิจารณาความสอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหาและเวลาที่ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้
  • - นำแผนการเรียนรู้ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพ
  • - ปรับปรุงแก้ไข ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
ขั้นการทดลองต้นฉบับ (Prototype testing)                นำบทเรียนสำเร็จรูปต้นฉบับไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
               ขั้นหนึ่งต่อหนึ่ง  นำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่ยังไม่เคยศึกษาเรื่องนั้นมาก่อน เพื่อดูความถูกต้องของเนื้อหา ขั้นตอนต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ จากนั้นจึงนำผลและข้อบทพร่องที่พบ มาปรับปรุงแก้ไข เพื่อใช้ในการทดลองขั้นกลุ่มเล็กต่อไป
                ขั้นกลุ่มเล็ก  นำบทเรียนสำเร็จรูปที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขในขั้นหนึ่งต่อหนึ่งไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่กำลังเรียนเนื้อหาวิชานั้น เพื่อตรวจสอบความบกพร่องของบทเรียน และเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เมื่อทดลองแล้วพบว่าประสิทธิภาพยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ จะต้องปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาของบทเรียนสำเร็จรูป และปรับปรุงกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งแบบทดสอบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
               ขั้นกลุ่มใหญ่  นำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองกับกลุ่มทดลองที่กำลังเรียนเนื้อหาวิชานั้น และเป็นกลุ่มทดลองที่มีลักษณะและคุณสมบัติใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจริง ๆ ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เมื่อทดลองแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ก็ดำเนินการจัดทำต้นฉบับเพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างต่อไป
ขั้นทดลองใช้จริง
              การทดลองใช้จริง เพื่อหาประสิทธิภาพบทเรียนสำเร็จรูป มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
•1.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูป
  • 1.1 ให้ผู้เรียน ศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนในการเรียนอย่างละเอียด โดยอ่านจากคำชี้แจง/คำแนะนำในการศึกษาด้วยบทเรียนสำเร็จรูป
  • 1.2 ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) ครูตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนและให้คะแนน
  • 1.3 ผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนที่ระบุไว้ในบทเรียนสำเร็จรูปครบถ้วนแล้ว ให้ทำแบบฝึกหัดและตรวจตำตอบจากคำเฉลยที่ให้ไว้ ทำเช่นนี้ทุกหน่วยการเรียนรู้จนครบ

  • 1.4 ครูตรวจสอบการตอบคำถามในแต่ละกรอบและการทำแบบฝึกหัดของผู้เรียนทุกหน่วยการเรียนรู้
  • 1.5 หลังจากผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ ในบทเรียนสำเร็จรูปจบแล้วให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test)
2. เครื่องมือที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป
  • 2.1 แบบฝึกหัด
  • 2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
•3. การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
             เครื่องมือที่ใช้วัดผลการเรียนรู้ เช่น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จะต้องให้ได้ข้อมูลตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการทราบ ครอบคลุมเนื้อหา สอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป อาจจะตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญหรือโดยการวิเคราะห์ ดังนี้
  • 3.1 หาความตรงเนื้อหา เป็นการหาว่าแบบวัดจะวัดได้ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการวัดหรือไม่โดยอาศัยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ คน ซึ่งเหมาะกับเครื่องมือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบทดสอบ
  • 3.2 หาความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา ใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้
 2552-04-18-011
      กำหนดคะแนนของผู้เชี่ยวชาญอาจจะเป็น +1 หรือ 0 หรือ -1 ดังนี้
                  +1  =   แน่ใจว่าข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้จริง
                    0  = ไม่แน่ใจว่าข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้จริง
                   -1 = แน่ใจว่าข้อสอบข้อนั้นไม่ได้วัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้จริง

                ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป ในกรณีที่กำหนดการให้คะแนนของผู้เชี่ยวชาญเป็น 5 หรือ 4 หรือ 3 หรือ 2 หรือ 1 ดังนี้
                    5  =  ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้มากที่สุด
                    4  =  ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้มาก
                    3  =  ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้บ้าง
                    2  =  ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้น้อย
                    1  =  ข้อสอบข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้น้อยที่สุด

                       ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป
ตัวอย่างการหาค่า  IOC แบบทดสอบ
               นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 20 ข้อ ให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกับจุดประสงค์ โดยกำหนดคะแนนเป็น +1 หรือ 0 หรือ -1 ได้ผล ดังนี้

ข้อที่ ผู้เชี่ยวชาญ (R)ผลรวมของคะแนน IOCหมายเหตุ
คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 
12
3
4
5
20
+10
+1
-1
+1
+1
+1+1
+1
+1
+1
0
0-1
+1
+1
0
+1
20
3
1
2
2
0.670.00
1.00
0.33
0.67
0.67
            ใช้ได้
ปรับปรุง
            ใช้ได้
ปรับปรุง
            ใช้ได้
             ใช้ได้

             จากตารางจะเห็นว่า ข้อที่ 2 และข้อที่ 4 มีค่า IOC ต่ำกว่า 0.50 ดังนั้นจะต้องปรับปรุง
         • 3.3    การหาค่าความยากง่าย               การวิเคราะห์ความยากง่าย เป็นการวิเคราะห์รายข้อใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้
2552-04-18-0111
              เกณฑ์ความยากง่ายที่ยอมรับได้มีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 – 0.80 ถ้าค่า P มีค่านอกเกณฑ์ที่กำหนด จะต้องปรับปรุงข้อสอบข้อนั้น หรือตัดทิ้งไป
ตัวอย่างการหาค่าความยากง่ายแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์
             นำแบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบทดสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 คน แบบทดสอบมี 5 ข้อ ๆ ละ 1 คะแนน ได้ผลดังนี้
2551-01
               จากตาราง  ถ้าต้องการหาดัชนีความยากของแบบทดสอบข้อ 1
จะได้ R = 8 , N = 10  แทนค่า P =   8 /10  = .8
               ดังนั้น  แบบทดสอบข้อ 1 มีค่าดัชนีความยากเท่ากัน .8 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
          •3.4    การหาค่าอำนาจจำแนก
             การวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก เป็นการดูความเหมาะสมของรายข้อว่าข้อคำถามสามารถจำแนกกลุ่มเก่งและกลุ่มอ่อนได้จริงหรือจำแนกผู้ที่มีคุณลักษณะสูงจากผู้มีคุณลักษณะต่ำได้ใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้
2552-04-18-03
              เกณฑ์อำนาจจำแนกที่ยอมรับได้มีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 ขึ้นไป ถ้าค่าอำนาจจำแนกต่ำกว่า 0.20 จะต้องปรับปรุงแบบทดสอบข้อนั้นหรือตัดทิ้งไป
ตัวอย่างการหาค่าอำนาจจำแนกแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์
                 จากตารางข้อมูลตัวอย่างแบบทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ ในการหาค่าความยากสามารถวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบได้ ซึ่งจะเห็นว่าข้อมูลในตารางได้เรียงลำดับคะแนนของนักเรียนจากมากไปหาน้อยแล้ว ดังนั้น กลุ่มสูง (ร้อยละ 25) คือนักเรียนคนที่ 1-3 และกลุ่มต่ำ (ร้อยละ 25) คือนักเรียนคนที่ 8-10
2552-04-18-04
             ดังนั้น  แบบทดสอบข้อที่ 1 มีค่าอำนาจจำแนก .67 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
          •3.5    การหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัด
•1)   การหาความเชื่อมั่นแบบคูเดอร์-ริชาร์ดสัน  เป็นการหาค่าความเชื่อมั่น  ซึ่งใช้ได้ดีกับเครื่องมือที่วัดหรือข้อสอบที่ให้คะแนนแต่ละข้อคำถามตรวจให้คะแนน 1 หรือ 0 (ถูกได้ 1 ผิดได้ 0) ใช้สูตรการคำนวณของ Kuder – Richardson – 21 (KR-21)
      2551-03
           เกณฑ์ความเชื่อมั่นที่ยอมรับได้จะมีค่าตั้งแต่ 0.75 ขึ้นไป
ตัวอย่างการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์
               จากตารางผลการทดสอบวิชาวคณิตศาสตร์ดังที่กล่าวมาข้างต้น ก่อนคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นผู้สอนจะต้องหาค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนเสียก่อน ดังนี้
2551-04
                                   2552-09                                              
               จะเห็นว่าค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์เท่ากับ 0.625 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 0.75 ดังนั้น ผู้สอนจะต้องปรับปรุงแบบทดสอบชุดนี้ก่อนนำไปใช้จริง
•2)   การหาความเชื่อมั่นแบบครอนบัด  (Cronbach) เป็นการหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัดจากการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (a – Coefficient) ซึ่งใช้ได้ดีกับเครื่องมือวัดที่แต่ละข้อคำถามไม่ได้ตรวจให้คะแนน 1 หรือ 0 แต่เป็นการตรวจให้คะแนนในลักษณะอื่น ๆ เช่น การทำข้อสอบอัตนัยที่ตอบแล้วได้คะแนนแต่ละข้อไม่เท่ากัน การทำแบบสอบถามที่ตอบแล้วได้คะแนนแต่ละข้อเป็น 5, 4, 3, 2, 1 เป็นต้น สูตรที่ใช้คือ
 2551-06
  •4.  การหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป
  • 4.1 หาเกณฑ์ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปโดยการวิเคราะห์คะแนนใช้สูตรคำนวณ ดังนี้
             การกำหนดเกณฑ์ที่ยอมรับว่าสื่อหรือนวัตกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพคือด้านความรู้ ความจำ E1/E2  มีค่า  80/80 ขึ้นไป ด้านทักษะปฏิบัติ  E1/E2 มีค่า 70/70 ขึ้นไป โดยที่ค่า  E1/E2  ต้องไม่แตกต่างกันเกินกว่าร้อยละ 5
  • 4.2 หาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูป โดยการวิเคราะห์คะแนนใช้สูตรคำนวณ ดังนี้
2552-04-18-10
            สำหรับเกณฑ์ที่ยอมรับได้ว่าสื่อหรือนวัตกรรมมีประสิทธิผลช่วยให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ได้จริง คือ มีค่าตั้งแต่ .50 ขึ้นไป
5. ทดสอบความแตกต่างของผลการสอบก่อนและหลังเรียน
             โดยการหาค่าที่ (T – dependant)

2551-08

อ้างอิง  http://www.kroobannok.com/

การพัฒนาครูสู่เทคโนโลยีสื่อการสอน

การพัฒนาครูสู่เทคโนโลยีสื่อการสอน
ในปัจจุบันสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเทคโนโลยีสื่อการสอนที่ได้นำเทคโนโลยีด้านการสอนสมัยใหม่มาใช้เป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบการศึกษา ทำให้ครูผู้สอนมีความรู้ ความสามารถ และทักษะ มีคุณธรรมให้ทันต่อความเจริญก้าวหน้าและหลักนิยมที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถพึ่งตนเองได้ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและหลักนิยมของโรงเรียน
ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ได้แก่ การให้การศึกษาและความรู้ครูผู้สอน กระบวนการเรียนการสอนเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเอาเทคโนโลยี สื่อการสอน วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนหรือเรียกว่าการนำเทคโนโลยีสื่อการสอนมาประกอบการสอนนั่นเอง เทคโนโลยีการสอนนั้นเป็นเสมือนสะพานเชื่อมประสานระหว่างทฤษฎีการสอนกับการปฏิบัติการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มพูนผลการเรียนให้ตรงตามจุดมุ่งหมายของบทเรียนนั่นเอง ซึ่งสอดคล้องกับ
กิดานันท์ มลิทอง (2536 : 75) ได้กล่าวว่า สื่อการเรียนการสอนนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอนนับแต่ออดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสอนระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจความหมายในเนื้อหาบทเรียนได้ตรงตามที่ผู้สอนต้งอการไม่ว่าสื่อนั้นจะเป็นสื่อแบบใด ชนิดใดก็ล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น การใช้สื่อการสอนต้องเลือกสื่อที่มีความเหมาะสม และตรงตามจุดประสงค์การสอนโดยการวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบในการใช้
สนั่น ปัทมะทิน (2505 : 10) ที่กล่าวว่า การนำสื่อการสอนมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเป็นวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ทางหนึ่งเพราะการสอนเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การที่จะช่วยให้การเรียนและการสอนให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ แต่ครู-อาจารย์ ส่วนมากมักจะมองข้ามความสำคัญของสื่อการเรียนการสอนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนในระดับอุดมศึกษาและการสอนผู้ใหญ่ ซึ่งผู้สอนเห็นว่าผู้เรียนไม่ใช่เด็ก ๆ จึงสอนด้วยวิธีการบรรยายและค้นคว้าก็เพียงพอที่จะเกิดการเรียนรู้แล้ว
ความจริงแล้ว ผู้สอนจำเป็นต้องพยายามหาลู่ทางที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และทักษะ ตลอดจนความสามารถทำอะไรได้จริงตามความมุ่งหมายโดยเร็วที่สุด และตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้เรียนไว้อย่างถาวร ในการส่งเสริมความรู้และทักษะผู้สอนจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ การสอนหรือสื่อการสอนมาประกอบการสอนด้วย

อ้างอิง  http://suriyadetaro.igetweb.com/index.php?mo=3&art=440222

นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาการศึกษา

นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาการศึกษา

 การคิดสร้างสรรค์หรือกรรมวิธีใหม่ๆ ซึ่งต่างไปจากที่เคยปฏิบัติมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานต่างๆ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เราเรียกว่า “นวัตกรรม”  นวัตกรรมตรงกับคำว่า “innovation”  ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า   To renew หรือ to modify หรือ “ทำขึ้นมาใหม่” ดังนั้น คนเราจึงควรมีนวัตกรรม คือ ต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า เพื่อปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ ครู-อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ๆ ที่คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” นั่นเอง ฉะนั้นคำว่า นวัตกรรมการศึกษา จึงหมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆ แนวความคิดวิธีการหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งได้ผ่านการทดลอง วิจัย หรืออยู่ระหว่างการทดลอง หรือ อาจเป็นสิ่งที่เคยใช้แล้วมาปรับปรุงใหม่มาใช้ในการศึกษาเพื่อปรับปรุง หรือเพิ่มประสิทธิภาพ ให้ดี ยิ่งขึ้น
         ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยนำนวัตกรรมการศึกษามาประยุกต์ใช้ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง  สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาตามความต้องการ  นวัตกรรมการเรียนรู้ จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย วิถีคิด ที่ออกนอกกรอบเดิม พอสมควร คือ จะต้อง ออกนอก “ร่อง” หรือ ช่องทางเดิมๆที่เคยชิน เรียกได้ว่า จะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิด หรือ กระบวน ทัศน์ที่มีอยู่เดิมเกี่ยวกับการเรียนรู้เสียใหม่ จากที่เคยเข้าใจว่า การเรียนรู้ คือ การศึกษาเพียงเพื่อให้ ได้รู้นั้น มาเป็นการเรียนรู้ที่นำมาใช้พัฒนางาน พัฒนา ชีวิต และพัฒนา สังคมประเทศชาติ ซึ่งเป็น ความรู้ที่แนบแน่นอยู่กับงาน เกี่ยวพันอยู่กับปัญหา  เป็นความรู้ที่มีบริบท การเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ใหม่นี้จึงมักเริ่มต้นด้วยการพัฒนาตัวโจทย์ขึ้นมาก่อน  โดยใช้ปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเป็นหลักเรียกได้ว่ามีความต้องการที่จะแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นจึงเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการเรียนรู้นี้ขึ้น มีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้เอง  สามารถคิดเอง  ทำเอง และแก้ปัญหาเองได้ โดยครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะ คอยให้คำแนะนำในการเรียนรู้  ที่ถูกต้องและเหมาะสมในการทำนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ0ได้นั้น  ต้องเริ่มจากการให้คำมั่นร่วมกันระหว่างคนเกี่ยวข้องในการทำนวัตกรรม  โดยทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความตั้งใจที่จะพัฒนาสินค้าและตราสินค้าเพื่อให้เกิดความมั่นคงร่วมกัน  การปรับเปลี่ยนรกระบวนทัศน์    ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า   เพียงแค่ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือวิถีคิดแล้ว   นวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เองโดยปริยาย จำเป็นจะต้องอาศัยปัจจัยและองประกอบอื่นๆ มาสนับสนุนจึงจะประสบผลสำเร็จ  ในบทความนี้จะขอหยิบยก 3องค์ประกอบหลัก  ที่ถือว่าจำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรม การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นซึ่งได้แก่  1) เวลา    2)โอกาส หรือเวที    และ 3)ไมตรี  องค์ประกอบแรก คือเรื่องขอเวลาพูดง่ายๆและตรงที่สุดก็คือถ้าไม่มีเวลา การเรียนก็ไม่เกิด หรือเกิดได้ยาก  เวลาเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งสำหรับการเรียนรู้  องค์กร  ชุมชน หรือครอบครัวใดที่มัวแต่ยุ่ง  ตกอยู่ในสภาพที่เรียนว่า โงหัวไม่ขึ้น  จะทำให้หมดโอกาสที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  และไม่มีเวลาสำหรับใช้คิดสร้างสรรค์ได้เลย   องค์ประกอบตัวต่อไปที่จะช่วยสนับสนุนและสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ได้ก็คือ  โอกาส  หรือเวทีที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน   วิธีการแลกเปลี่ยนอาจจัดเวทีการเรียนรู้ที่มีรูปแบบที่หลากหลาย  คือมีทั้งเวทีที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ   เช่นการจัดประชุม  สัมมนาในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น  และเวทีในรูปแบบที่อาจจะไม่เป็นทางการมากนัก  คืออาจจะจัดในลักษณะที่เป็นการร่วมตัวของคนที่สนใจ  ไม่มีการบังคับและองค์ประกอบที่สาม  ที่จำเป็นสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้คือ  ไมตรี  คือต้องมีน้ำใจให้แก่กัน  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้คงจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน  ถ้าต่างฝ่ายต่างไม่ยื่นน้ำใจอันดีแก่กัน   นวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้จึงจำเป็นต้องอาศัยใจที่เปิดกวาง  ต้องเป็นใจที่ว่าง  ว่างพอที่จะรับสิ่งใหม่ๆ ที่หลั่งไหลเข้ามาโดยไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งเก่าๆ จะต้องพัฒนาให้คนมีความสามารถที่จะละทิ้งสิ่งเก่าๆได้  ด้วยใจที่ไม่มีอคติ  ต้องมองทุกสิ่งทุกอย่างที่เห็นในลักษณะที่ใหม่หมด  สดเสมอให้เป็นความรู้สึกเหมือนกับเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก  ไม่ซ้ำกับสิ่งที่ได้เกิดไปแล้วในอดีต   เป็นความรู้สึกตื่น  ต้องการ  แบ่งปัน  และกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา  แนวความคิดพื้นฐานที่ทำให้เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้  ได้แก่ 1) แนวความคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual differences) จากที่เราได้เคยศึกษาทางด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับมนุษย์นั้น พบว่า มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านกายภาพได้ แก่ร่างกายและด้านสติปัญญา ความคิด และความรู้สึก การรับรู้และการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนจึงควรจัดให้สอดคล้องกับผู้เรียน เช่น ความถนัด ความสนใจ ความสามารถของแต่ละคน อัตราการเรียนเร็วช้าของแต่ละคน เช่นผู้เรียนที่เรียนรู้ได้เร็วจะได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป โดยไม่ต้องเสียเวลา ส่วนผู้เรียนช้าก็สามารถเรียนได้ตามอัตราการเรียนรู้ของตนโดยไม่เกิดปมด้อย นอกจากนี้ยังสามารถตอบนสนองทั้งด้านรูปแบบของแต่ละคน ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลนี้ เป็นผลให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ บทเรียนโปรแกรม หรือ บทเรียนสำเร็จรูป เครื่องช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดการสอนรายบุคคล เป็นต้น แนวความคิดอย่างที่ 2) ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) แต่เดิมเคยมีความเชื่อว่าผู้เรียนจะเริ่มเรียนได้ต้องมีความพร้อมโดยเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของพัฒนาการ ปัจจุบันทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ได้ศึกษาพบว่า ความพร้อมทางการเรียนเป็นสิ่งที่สามารถจัดขึ้นได้โดยการจัดบทเรียน ลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยาก และเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียนก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี นวัตกรรมการศึกษาที่เชื่อมกับแนวคิดนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ ชุดการสอน แนวคิดตัวต่อไปที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ แนวคิดที่ 3) คือ แนวคิดพื้นฐานในเรื่อง การเวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมจะระบุไว้แน่นอน ตายตัว เป็นภาคเรียน แนวคิดในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษานี้ เพื่อให้สัมพันธ์และมีความเหมาะสมกับลักษณะของรายวิชาแต่ละวิชา ซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากันเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้เวลาในการศึกษาตามความสามารถและความจำเป็นของแต่ละคนนวัตกรรมที่ตอบสนองการเรียนรู้นี้ได้แก่ ตารางเรียนแบบยืดหยุ่น มหาวิทยาลัยเปิด เป็นต้น และแนวคิดพื้นฐานที่ทำให้เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้ อย่างที่ 4) แนวคิดพื้นฐานจากผลอันเนื่องมาจากการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มของประชากร ซึ่งผลกระทบดังกล่าว ทำให้ความต้องการทางด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นตลอดจนความจำเป็นที่ต้องศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และการดำรงชีวิตอีกทั้ง การศึกษาในระบบนั้นไม่สามารถจัดให้ไดอย่างเพียงพอ เป็นผลที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเปิด (open  university)การเรียนทางวิทยุโทรทัศน์   การเรียนทางไปรษณีย์  แบบเรียนสำเร็จรูป และชุดการเรียนนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนแบบตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่  สไลด์  แผ่นใส  เอกสารตำราสารเคมี สิ่งพิมพ์ต่างๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ
2. สื่อประเภทอุปกรณ์  ได้แก่  ของจริง  หุ่นจำลอง  เครื่องเล่นเทปเสียง  เครื่องเล่นวีดีทัศน์  เครื่องฉายแผ่นใส  อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
3. สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ  ได้แก่  การสาธิต  การอภิปรายกลุ่ม  การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน  การจัดนิทรรศการ  และสถานการณ์จำลอง
4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์  ได้แก่  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (cai) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (computer  presentation) การใช้ internet และ internet เพื่อการสื่อสารและการใช้  www  ( world  wide  web )



          ในปัจจุบันนวัตกรรมมีรูปแบบหลากหลายมากมาย  เพื่อให้เราสามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของบริบทแต่ละสถานที่ผู้เรียน  และปัจจัยอื่นๆด้วย  ซึ่งสามารถเลือกใช้ตามประเภทของนวัตกรรม  ดังนี้           
                   1. บทเรียนสำเร็จรูป                               7. สไลด์

                   2. ชุดการสอน                                        8. เกม
                   3. แผ่นภาพโปร่งใส                               9. สื่อประเภทอุปกรณ์  
                   4. เอกสารประกอบการสอน                10. มัลติมีเดีย          
                   5. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน        11. internet               
                   6. วีดีทัศน์                                            12.  e - Learning     
                  ดังนั้นในการพัฒนาการศึกษา  เราจะมีวิธีการอย่างไรที่จะสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้คนสนใจ  และใคร่ที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา   เพราะนวัตกรรมการเรียนการสอน ต่อไปน่าจะมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น  เพราะปัจจุบันมีการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ซึ่งต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง  เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้เรียนจึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ   ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายมีความสนใจกระตือรือร้นและเกิดความอยากรู้อยากเห็น  สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้  ครูผู้สอนต้องมีความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมประเภท  Multimedia  สามารถจัดทำสื่อนวัตกรรมออกมาใช้ในการเรียนการสอน  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพอย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ   ผู้เรียนจะต้องสนใจใฝ่เรียนรู้ในเรื่องของการใช้นวัตกรรมในรูปแบบของไอทีให้มากขึ้น  เพื่อจะได้เกิดความคุ้นเคยแล้วสามารถใช้สื่อได้อย่างถูกต้อง  และสถานศึกษาต้องจัดทำสื่ออุปกรณ์เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ให้พร้อมเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและทำให้การจัดกระบวนการเรียนการสอนมีความสมบูรณ์  ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการนำนวัตกรรมการเรียนรู้ไปพัฒนาการศึกษาให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป


อ้างอิง   http://www.classifiedthai.com/content.php?article=7077

ครู-คนสอนคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์สอนคน

สืบเนื่องจากวันครูที่ผ่านไปเลยอยากจะพูดถึงการเป็นครูสอนคอมพิวเตอร์หรือผู้สอนด้านไอที ซึ่งโดยทั่วไปก็หมายถึงครูที่สอนหัวข้อต่าง ๆ เช่น การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กราฟิก จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์ การพัฒนาเว็บไซต์ หรือแม้แต่คุณครูแนะแนวทางด้านสายอาชีพในไอที ซึ่งพูดถึงครูคอมพิวเตอร์ดีเด่นนั้นเท่าที่สำรวจจากครูที่ได้รับรางวัลจากสมาคมวิชาชีพทางคอมพิวเตอร์ของ IEEE ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 นั้นพบว่าเริ่มแรกคุณครูที่ได้รับรางวัลจะมีผลงานโดดเด่นด้านการผลิต “สื่อการเรียนการสอน” หรือ “ตำรา” คอมพิวเตอร์ที่ใช้กันแพร่หลาย

จนยุคต่อมามักจะเป็นคุณครูที่มี “การวิจัย” ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ การปรับ “หลักสูตร” สนับสนุน “กิจกรรม” ที่ส่งเสริมการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ เช่น จัดการแข่งขัน การ “สร้างแรงบันดาลใจ” ให้คนเรียนด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น และคุณครูท่านล่าสุดที่ได้รับรางวัลเมื่อ 3 ปีที่แล้วคือ ดร.จูดี้ โรเบิร์ตสัน (Judy Robertson)จากมหาวิทยาลัยเฮริออต-วัตต์ ประเทศสกอตแลนด์ ผู้ใช้ “นวัตกรรม” ใหม่ในการสอนเขียนโปรแกรมผ่านการสร้างเกมสามมิติ รวมถึงใช้เกมในการเรียนรู้ ลองดูผลงานวิจัยตลอด 8 ปีของคุณครูท่านนี้ได้ที่ http://judyrobertson.typepad.com/

ในส่วนของประเทศไทยเราเมื่อต้นปีก็เพิ่งมีคุณครูคอมพิวเตอร์ที่เพิ่งได้รับรางวัลเกี่ยวกับการเรียนการสอน ทั้งระดับคณะ มหาวิทยาลัย ประเทศไทยและนานาชาติมาซึ่งท่านก็มีผลงานต่อเนื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์มาตลอดโดยทำมาเกือบทุกด้านไม่ว่าจะเป็น “สื่อการเรียนการสอน” “ตำรา” “การวิจัย” “หลักสูตร” “กิจกรรม” และ “นวัตกรรม” ซึ่งเป็นที่น่าภูมิใจของวงการคอมพิวเตอร์บ้านเราได้เลยทีเดียว

ส่วนอีกด้านก็คือการใช้คอมพิวเตอร์เป็นครู ซึ่งมีประวัติยาวนานตั้งแต่ช่วงประมาณปี พ.ศ. 2500 บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์สำหรับสอนที่มหาวิทยาลัยอัลเบอตา ประเทศแคนาดา มุ่งเน้นในการสอนความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ให้กับผู้ใช้งานที่ไม่คุ้นเคยกับคอมพิวเตอร์และเป็นต้นแบบให้กับการเรียนการสอนทางไกล ซึ่งทั่วไปเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือไอทีก็จะมีเนื้อหา 5 ด้านหลัก คือ การให้ความเข้าใจด้านการประยุกต์ “ใช้งานเบื้องต้น” เช่น การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อมาคือการรู้ตระหนักถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ “จริยธรรม” ในการใช้งานเครือข่าย สามคือการใช้งาน “เครื่องมือสร้างงาน” ประเภทต่าง ๆ เช่น ตกแต่งภาพ พิมพ์งาน สี่คือใช้งาน “เครื่องมือสื่อสาร” เช่น เมล หรือเว็บไซต์ที่ใช้ติดต่อสื่อสารได้ และ สุดท้าย “เครื่องมือที่ใช้ค้นคว้าข้อมูล” เช่น เว็บค้นหา และฐานข้อมูลที่สำคัญ

ยุคต่อมาการสอนโดยครูที่เป็นคอมพิวเตอร์นั้นได้พัฒนาความสามารถในการแสดงผลข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นในการเรียนรู้ เช่น ภาพ ตาราง กราฟ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ นอกเหนือจากการพิมพ์ด้วยแป้นพิมพ์ เช่น การใช้เมาส์ หรือจอสัมผัสในการเลือก การใช้เสียงในการโต้ตอบ เป็นต้น จนปัจจุบันมีให้เห็นทั้งด้านอุปกรณ์เสริมใหม่ ๆ หรือครูคอมพิวเตอร์สายพันธุ์ใหม่ที่มาในรูปแบบอื่นกลายเป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ใช้งานหลักเฉพาะทางไป อย่างเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กระดานชนวนอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือที่เป็นคอมพิวเตอร์ โต๊ะทำงานที่เป็นคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

สำหรับบทเรียนที่คอมพิวเตอร์ครูเหล่านี้สอนได้ ก็ถูกพัฒนาขึ้นมากมายจากเดิมที่มีแค่ระดับการเรียนการสอนสำหรับเด็กสู่ระดับที่สูงขึ้น เช่น ใช้งานในธุรกิจ อย่างระบบจำลองการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม หรือบทเรียนให้ความรู้เชิงธุรกิจที่จำเป็นต่อองค์กร ซึ่งข้อดีของบทเรียนที่สอนโดยคอมพิวเตอร์ครูจะเหมือนกันตรงที่นักเรียนจะเรียนได้อย่างที่เรียกกันว่า “ผู้เรียนเป็นหลัก” คือเรียนได้ตามความเร็วในการเรียนรู้ของตนเอง

เมื่อสำรวจในประเทศไทยก็จะพบว่าปัจจุบันมีบริการให้ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ หรือมีคอมพิวเตอร์ที่เป็นครูเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ ชุดสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แผ่นซีดีสอนเรื่องจิปาถะที่วางขายในซูเปอร์มาร์เกต หรือระบบช่วยสอนเฉพาะทาง อย่างเช่น ล่าสุดทางโรงพยาบาลราชวิถี ก็กำลังพัฒนาระบบสำหรับแพทย์เพื่อฝึกการตรวจอัลตราซาวด์ได้โดยไม่ต้องมีคนไข้จริง ซึ่งก็น่าจะนับได้ว่า เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เป็นครูสอนเรื่องเฉพาะทางได้เหมือนกัน

ครูที่เป็นคอมพิวเตอร์เหล่านี้สามารถทำงานหนักโดยไม่ต้องบ่นเหนื่อย แต่อย่างไรก็ตามคงไม่เท่าครูที่เป็นคนไม่ว่าจะสอนคอมพิวเตอร์หรือสอนอะไรก็ตาม ทั้งคู่ต่างก็มีพระคุณต่อผู้เรียน แต่ต่างกันตรงครูที่เป็นคนคงต้องมีจิตวิญญาณความเป็นครูใส่เข้าไป ซึ่งตอนนี้ยังหาโปรแกรมจิตวิญญาณที่ว่านี้ไม่พบในส่วนของคอมพิวเตอร์ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยปรับทัศนคติในการเรียนรู้ การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นทั้งในโลกคอมพิวเตอร์และโลกจริง


อ้างอิง  http://www.kroobannok.com/41372

LMS คืออะไร

LMS คืออะไร

LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ



องค์ประกอบ LMS

LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้

1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม รูปแบบ

2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media

3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน

4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้

5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin กำหนดให้


อ้างอิง  http://www.kroobannok.com/1585

การเรียนการสอนทางไกลแบบมีปฏิสัมพันธ์

การเรียนการสอนทางไกลแบบปฏิสัมพันธ์
        ระบบการเรียนการสอนทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ นับว่าเป็นการเรียนการสอนทางไกลรูปแบบหนึ่ง เพราะทั้งผู้เรียนและผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกัน แต่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันผ่านทางระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้โดยการใช้อุปกรณ์และโปรแกรมคำสั่งในการทำงาน การจัดกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนทางไกลที่เหมาะสม ทำให้การเรียนการสอนทางไกลมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่ง สุรชัย สิกขาบัณฑิต (2541) กล่าวว่า การจัดกิจกรรมที่เหมาะสม ย่อมทำให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างดียิ่ง ดังนี้
     1. ช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มผลสัมฤทธิ์และความคงทนในกาเรียนรู้
     2. ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น

     3. เสริมสร้างและพัฒนาการทางสังคมให้กับผู้เรียน
     4. ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปแบบกระฉับกระเฉง (Active Learning)
     5. ช่วยในการตรวจสอบการใช้เทคโนโลยีของผู้เรียนและผู้สอน ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน

         การมีปฏิสัมพันธ์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการเรียนการสอนทางไกล ผู้เรียนและผู้สอนต้องมี ปฏิสัมพันธ์ต่อกันโดยตรงและสามารถทำกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยการใช้สื่อปฏิสัมพันธ์ มาร์ติน และคณะ (Martin and Others. 1996) ได้ทำการศึกษาโปรแกรมการสอนทางไกลแบบสองทาง พบว่า การสอนทางไกลแบบสองทางที่ดีจะต้องมีการสร้างวิธีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีด้วย ซึ่งสอดคล้องกับ สุรชัย สิกขาบัณฑิต (2541) ที่กล่าวว่าการสอนทางไกลที่ดีต้องมีวิธีการปฏิสัมพันธ์ 5 ลักษณะ คือ
1. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
2. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
3. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใดบุคคลหนึ่งตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
4. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเทคโนโลยี
5. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับเทคโนโลยี
       การปฏิสัมพันธ์ทั้ง 5 ลักษณะดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนและคนกับเครี่อง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้สอนจัดให้มีขึ้น ผู้สอนต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า จัดเตรียมกิจกรรมไว้เป็นลำดับในแผนการสอน
        การสร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถกระทำได้ในทุก ๆ กระบวนการของการเรียนการสอน ตั้งแต่เริ่มต้นจบเสร็จสิ้นกระบวนการ เช่น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับ ผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน สามารถกระทำโดยการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การสนทนาโต้ตอบทันทีทันใด (Chat) การถามตอบปัญหา (FAQ) เป็นต้น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนกับเทคโนโลยี ได้แก่ กิจกรรมการการท่องหาความรู้ไปตามเว็บไซต์ต่างๆ (WWW) กิจกรรมการสืบค้นข้อมูลผ่านเครื่องมือสืบค้น (Search Engine) การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP) เหล่านี้เป็นต้น


อ้างอิง  http://www.kroobannok.com/38

การเรียนการสอนแบบ e - Learning

การเรียนที่เรียกว่า e-Learning เป็นวิธีการเรียนรู้แบบใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจและสร้าง มิติใหม่ของการเรียนรู้ที่เปิดกว้างกระจายไปถึงผู้คนได้ทั่วโลก สร้างโอกาสของการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตและเรียนในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ด้วยการเข้าถึงฐานความรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และติดต่อสื่อสารถึงกันและกันได้อย่างรวดเร็ว เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (ไอทีปริทัศน์. 2544 : 1)
 e-Learning เป็นการเรียนการสอนทางไกลที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทาง World Wide Web ซึ่ง ผู้เรียนและผู้สอนใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลมากมาย ที่มีอยู่ทั่วโลกอย่างไร้ขอบเขตจำกัด ทำให้ระบบการเรียนการสอนเปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นระบบปิดมาเป็นระบบเปิด ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งวิชาที่มีการเชื่อมโยงอยู่ในเว็บ โดยไม่มีอุปสรรคทางด้านภูมิศาสตร์ ระยะทาง และเวลา การเรียนในลักษณะนี้ช่วยทำให้ผู้สอนและผู้เรียนเป็นอิสระจากปัญหาการจัดตารางเรียนตารางสอน เพราะผู้เรียนสามารถเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนได้ตามความสะดวกตามต้องการ ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการเรียนด้วยตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามพัฒนาการของตนเอง ช่วยในการปรับเปลี่ยนบทบาทของผู้สอนจากผู้บอกและถ่ายทอดมาเป็นผู้ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และอำนวยความสะดวก ในขณะที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าและสำรวจข้อมูลในลักษณะการเรียนรู้ร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองมิใช่เป็นแต่เพียงผู้รอรับ
 ดังนั้น e-Learning จึงเป็นวิธีการเรียนรู้ที่สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ทำให้การศึกษา เกิดขึ้นได้ในทุกที่ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน สถานศึกษา และอื่น ๆ การเรียนรู้เน้นการแสวงหาและการรู้จักเลือก ข้อมูลเพื่อการเสริมแต่งความรู้ เป็นการเรียนรู้ที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกลุ่มที่เรียนรู้ร่วมกัน และยังสามารถขยายความสัมพันธ์ไปยังบุคคลภายนอกกลุ่มที่ติดต่อ หรือเป็นแหล่งทรัพยากรของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและพึ่งพาช่วยเหลือกัน ทั้งนี้การเชื่อมต่อถึงกันผ่านระบบเครือข่ายทำให้มีช่องทางของการติดต่อระหว่างกัน ช่วยลดช่องว่างระหว่างผู้เรียนและผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนได้อีกด้วย

อ้างอิง  http://www.kroobannok.com/37