วาเลนไทน์สุดโรแมนติก

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเรียนการสอนทางไกลแบบมีปฏิสัมพันธ์

การเรียนการสอนทางไกลแบบปฏิสัมพันธ์
        ระบบการเรียนการสอนทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ นับว่าเป็นการเรียนการสอนทางไกลรูปแบบหนึ่ง เพราะทั้งผู้เรียนและผู้สอนไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกัน แต่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันผ่านทางระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้โดยการใช้อุปกรณ์และโปรแกรมคำสั่งในการทำงาน การจัดกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนทางไกลที่เหมาะสม ทำให้การเรียนการสอนทางไกลมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่ง สุรชัย สิกขาบัณฑิต (2541) กล่าวว่า การจัดกิจกรรมที่เหมาะสม ย่อมทำให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างดียิ่ง ดังนี้
     1. ช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มผลสัมฤทธิ์และความคงทนในกาเรียนรู้
     2. ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น

     3. เสริมสร้างและพัฒนาการทางสังคมให้กับผู้เรียน
     4. ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปแบบกระฉับกระเฉง (Active Learning)
     5. ช่วยในการตรวจสอบการใช้เทคโนโลยีของผู้เรียนและผู้สอน ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน

         การมีปฏิสัมพันธ์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการเรียนการสอนทางไกล ผู้เรียนและผู้สอนต้องมี ปฏิสัมพันธ์ต่อกันโดยตรงและสามารถทำกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยการใช้สื่อปฏิสัมพันธ์ มาร์ติน และคณะ (Martin and Others. 1996) ได้ทำการศึกษาโปรแกรมการสอนทางไกลแบบสองทาง พบว่า การสอนทางไกลแบบสองทางที่ดีจะต้องมีการสร้างวิธีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีด้วย ซึ่งสอดคล้องกับ สุรชัย สิกขาบัณฑิต (2541) ที่กล่าวว่าการสอนทางไกลที่ดีต้องมีวิธีการปฏิสัมพันธ์ 5 ลักษณะ คือ
1. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
2. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
3. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใดบุคคลหนึ่งตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
4. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเทคโนโลยี
5. การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับเทคโนโลยี
       การปฏิสัมพันธ์ทั้ง 5 ลักษณะดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนและคนกับเครี่อง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้สอนจัดให้มีขึ้น ผู้สอนต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า จัดเตรียมกิจกรรมไว้เป็นลำดับในแผนการสอน
        การสร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถกระทำได้ในทุก ๆ กระบวนการของการเรียนการสอน ตั้งแต่เริ่มต้นจบเสร็จสิ้นกระบวนการ เช่น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับ ผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน สามารถกระทำโดยการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การสนทนาโต้ตอบทันทีทันใด (Chat) การถามตอบปัญหา (FAQ) เป็นต้น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนกับเทคโนโลยี ได้แก่ กิจกรรมการการท่องหาความรู้ไปตามเว็บไซต์ต่างๆ (WWW) กิจกรรมการสืบค้นข้อมูลผ่านเครื่องมือสืบค้น (Search Engine) การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP) เหล่านี้เป็นต้น


อ้างอิง  http://www.kroobannok.com/38

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น